ศูนย์อุทยานธรรม

ศูนย์ฝึกอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน และฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานแก่ผู้สนใจ

พรพรรณ สุจริตวณิช
ความสำคัญของจริยธรรม

   ในอดีตสังคมไทยค่อนข้างสงบสุขเพราะคนส่วนใหญ่ยังยึดหลักธรรมในทางศาสนาเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวรวมทั้งยังปฏิบัติตามขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี อันดีงาม ของชาติ  แต่สังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากความเจริญทางวัตถ ุ จากการรับวัฒนธรรมตะวันตก รวมทั้งสื่อเทคโนโลยี ต่างๆ  สิ่งเหล่านี้ ได้ ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยเป็นอย่างมาก  ทำให้เกิดปัญหต่างๆ  มากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสังคม  ปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาครอบครัวโดย เฉพาะกับเยาวชน ซึ่งยังไม่มี วิจารณญาณมากนัก ในการจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เข้ามากระทบกับชีวิตทำให้เยาวชนบางส่วนตกอยู่ในภาวะที่สับสน  และเกิด ความขัดแย้งในค่านิยม  ก่อให้เกิด พฤติกรรมที่ไม่พึงปรารถนา  เป็นเหตุให้คุณธรรมจริยธรรมที่เหมาะสมกับสังคมไทยเริ่มจะเสื่อมโทรมลงไป

        มูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรมเป็นองค์กรการกุศลมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแผ่ธรรมและจรรโลงไว้ซึ่พระพุทธศาสนามูลนิธิฯได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของธรรมะใน พระพุทธศาสนาและตระหนักว่าปัญหาต่างๆคงจะไม่เกิดขึ้นถ้าทุกคนยึดถือและปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนในทางศาสนาและนำหลักธรรมของศาสนานั้นมาเป็น มัคคุเทศก์ ส่องทางดำเนินชีวิตในด้านต่างๆ อย่างเพียงพอ  และเหมาะสม  เป็นสุจริตถูกต้องแล้ว  ก็รับประกันได้ว่าชีวิตนั้นจะเป็นชีวิตที่สามารถแก้ปัญหา ต่างๆ  ที่ชีวิตกำลังเผชิญได้ สามารถนำความสุขความปลอดภัยตลอดทั้งความสำเร็จในสิ่งอันพึงปรารถนาให้แก่ตนเองและสังคมโดยส่วนรวม ได้รวมทั้ง รูปแบบ การดำเนินชีวิต ตลอดจนขนบธรรมเนียมประเพณีก็จะออกมาในรูปที่ดี ส่งเสริมความสามัคคีความเป็นเอกภาพและเอกลักษณ์ของชาติได

 

กิจกรรมของมูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรม

        มูลนิธิฯ มีโครงการส่งเสริมและเผยแผ่ธรรมในหลายรูปแบบ ทั้งโครงการเผยแผ่ธรรมทางหนังสือ “อริยธรรม” ออกเผยแผ่ปีละ ๒ ครั้ง ในเดือนมิถุนายน และเดือนธันวาคม การเผยแผ่ธรรมทางวิทยุในรายการ “ แสงธรรมนำชีวิต” ออกอากาศทุกวันเสาร์- อาทิตย์ เวลา ๐๕. ๓๐ - ๐๖. ๐๐ น. ทางสถานีวิทยุ ทหารอากาศเชียงใหม่ เอ. เอ็ม ๑๓๒๓ กิโลเฮิร์ท การเผยแผ่ธรรมทางอินเตอร์เน็ตทางเว็บไซด์ www.geocities.com/cmdsg.geo/index.htm. โครงการ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันเสาร์ โครงการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานและโครงการอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน

 

ความเป็นมาของศูนย์อุทยานธรรม

         ศูนย์อุทยานธรรมเป็นศูนย์ฝึกอบรมและเผยแผ่ธรรมของมูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรม เริ่มเปิดดำเนินการเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๓  ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่  ๒  ถนนคันคลอง ชลประทาน (หลังโรงเรียนน้ำบ่อหลวงวิทยาคม)  ตำบลน้ำบ่อหลวง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่

        ศูนย์อุทยานธรรมริเริ่มก่อสร้างโดยดิฉันพรพรรณ  สุจริตวณิช ร่วมกับคณะกรรมการมูลนิธิฯ
ซึ่งขณะนั้นดิฉันเป็นประธานมูลนิธิฯ อยู่ มีความประสงค์ อยากจะเผยแผ่ธรรม  โดยการทำศูนย์ฝึกอบรม ดิฉัน
ได้ไปดูสถานที่หลายแห่ง  ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนอยู่เป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้ที่ ที่ดิฉันและ
คณะกรรมการมูลนิธิฯ ถูกใจ

        ขณะนั้นมีหลวงพ่อรูปหนึ่งที่ดิฉันเคารพนับถือ  ท่านอยู่ท ี่จังหวัดจันทบุรี ท่านได้เขียนจดหมายมาหา
แล้วทักขึ้นว่า “หลวงพ่อขออนุโมทนาบุญกับหนูด้วยหนูจะได้ทำในสิ่งที่น้อยคนนักจะทำได้ นับว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาในอนาคตหน
ูจะได้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมที่ใหญ่แห่งหนึ่งของภาคเหนือ  ขอให้อดทนทำไปนะ  เมื่อถึงเวลาจะมีคนเข้ามาช่วยสนับสนุน เอง”

        ศูนย์อุทยานธรรมริเริ่มก่อสร้างโดยดิฉันพรพรรณ  สุจริตวณิช ร่วมกับคณะกรรมการมูลนิธิฯ ซึ่งขณะนั้นดิฉันเป็นประธานมูลนิธิฯ อยู่ มีความประสงค์ อยากจะเผยแผ่ธรรม  โดยการทำศูนย์ฝึกอบรม ดิฉันได้ไปดูสถานที่หลายแห่ง  ทั้งในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูนอยู่เป็นเวลานาน แต่ก็ยังไม่ได้ที่ ที่ดิฉันและ คณะกรรมการมูลนิธิฯ ถูกใจ

        ขณะนั้นมีหลวงพ่อรูปหนึ่งที่ดิฉันเคารพนับถือ  ท่านอยู่ท ี่จังหวัดจันทบุรี ท่านได้เขียนจดหมายมาหาแล้วทักขึ้นว่า “หลวงพ่อขออนุโมทนาบุญกับหนูด้วย หนูจะได้ทำในสิ่งที่น้อยคนนักจะทำได้ นับว่าไม่เสียทีที่ได้เกิดมาในอนาคตหนูจะได้สร้างศูนย์ปฏิบัติธรรมที่ใหญ่แห่งหนึ่งของภาคเหนือ  ขอให้อดทนทำไปนะ  เมื่อถึงเวลาจะมีคนเข้ามาช่วยสนับสนุน เอง”

 หลังจากนั้นไม่นาน ก็มี พระผู้ใหญ่หลายรูป  ในจังหวัดเชียงใหม่ ขอจารึกชื่อท่านเหล่านั้นไว้ ณ ที่นี้  ด้วยความเคารพ  คือหลวงตาบุญทรงสุกัณศีล วัดห้วยส้ม อำเภอสันป่าตอง  พระอาจารย์สัจจา  สัญญโต วัดหนองอุโบสถอำเภอสันทราย และพระครูภาวนาวิรัช วัดร่ำเปิง อำเภอเมือง (ขณะนั้นท่านเป็นที่ปรึกษามูลนิธิ)  ช่วยพูดกับเจ้าอาวาส วัดน้ำบ่อหลวง (พระครูธรรมาภิรม)  ซึ่งท่านเป็นเจ้าคณะอำเภอสันป่าตองด้วย จนมูลนิธิ ได้รับอนุญาตจาก วัดน้ำบ่อหลวงให้ใช้ที่ธรณี สงฆ์ของวัดจำนวนราว ๙ ไร่ เพื่อเป็นศูนย์เผยแผ่ธรรม เมื่อปลายปี ๒๕๔๒และก่อนจะเริ่มก่อสร้างตัวอาคาร  ต้องขุดเจาะน้ำบาดาลก่อน เพราะที่แปลงนี้ไม่ม ี ีน้ำ ซึ่งทางมูลนิธิฯ ได้รับความอนุเคราะห์จากศูนย์ขุดเจาะบ่อบาดาลของกรมโยธาธิการ มาขุดเจาะน้ำบาดาลให้ ขุดลึก ๖๐ กว่าเมตรได้น้  ๒ ระดับ คือที่ระดับ ๓๐ กว่าเมต  และระดับ  ๔๐ กว่าเมตร ส่วนไฟฟ้าระยะแรกศูนย์อุทยานธรรมต่อไฟฟ้าจาก วัดน้ำบ่อหลวง จนเมื่อกลางปี พ.ศ.๒๕๔๗  ทางศูนย์ได้ขยายเขต ไฟแรงสูงจากการไฟฟ้าสันป่าตอง  ขนาดกำลังไฟ ๕๐ แอมป์ ๓ เฟสหลังจากนั้นก็ทยอย ก่อสร้างอาคารมาเรื่อยๆ จนปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๔๘) มีอาคารอเนก ประสงค์ ๕ หลัง ห้องน้ำ ๓๑ ห้อง กุฎิ ๗  หลัง  โดยทั้งหมดได้รับ การสนับสนุน ทางการเงินจากผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งส่วนใหญ่เห็นประโยชน์ในกิจกรรมที่มูลนิธิ ิดำเนินการอยู่ทั้งสิ้น
               
        หลังจากทำบุญเปิดศูนย์ฯ เมื่อวันที่  ๒๓ เมษายน  ๒๕๔๓ มูลนิธิฯ ก็เริ่มเผยแผ่ธรรม  โดยการจัดคอร์สวิปัสสนาเฉลิมพระเกียรติขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อถวาย พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในช่วงวันพ่อต้นเดือนธันวาคม  ๒๕๔๓  และจัดอีกเรื่อยๆ  ในครั้งต่อๆ  มา (อันที่จริงมูลนิธิฯ ได้เริ่มจัดคอร์ส วิปัสสนา กรรมฐานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๙ คือ ตั้งแต่ยังไม่ได้จดทะเบียน เป็นมูลนิธิฯ แต่ใช้ชื่อว่า “กลุ่มศรัทธาธรรม”  โดยจัดประจำที่วัดร่ำเปิง อ.เมือง จ.เชียงใหม่  ในช่วงวันแม่ของทุกปีต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน)

 

จุดประกายกำเนิดค่ายอบรมคุณธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน

       ดิฉันได้รับข้อคิดในการทำค่ายฝึกอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่เยาวชน  เมื่อสนทนากับ คุณสุรชัย  ขยัน  ศึกษาธิการอำเภอแม่ทา  จังหวัดลำพูน (ในขณะนั้น)  คุณสุรชัยทราบว่าดิฉันและคณะ (กลุ่มศรัทธาธรรมในขณะนั้น) จัดคอร์สวิปัสสนา กรรมฐานแก่ผู้สนใจอยู่ ท่านจึงกล่าวกับดิฉันว่า“ที่คุณจัดการอบรมวิปัสสนา กรรมฐานแก่ผู้สนใจก็ดีอยู่ แต่.....คนที่คุณช่วยเขา   เขาเป็นคนดีอยู่แล้ว ไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน คุณไม่สนใจจะช่วยเด็กๆ ที่กำลังจะตกนรกบ้างหรือเด็กพวก นี้เมื่อเขาตกนรก  เขาไม่ตกคนเดียวแต่เขาจะพลอยดึงคนรอบข้าง ตกนรกไปด้วย” จากคำพูดนี้  ได้จุดประกายให้ดิฉันเห็นความ สำคัญของการฝึกอบรม เยาวชน ซึ่งได้เริ่มทำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๔  จนถึงปัจจุบัน  ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๘ นี้ มีองค์กรสถาบันต่างๆ  มาขอใช้ศูนย์ อุทยานธรรม ใน การฝึกอบรม เยาวชนมากกว่า  ๔,๐๐๐  คนและคาดว่าจำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ  ในอนาคต
ผลการฝึกอบรมจริยธรรมแก่เยาวชน
   
จากผลการวิจัยของดิฉัน นางสาวพรพรรณ สุจริตวณิช ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เรื่อง “ ประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรมจริยธรรมแก่เยาวชน ณ ศูนย์อุทยานธรรม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่”ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโครงการฝึกอบรมจริยธรรมแก่เยาวชนเพื่อเปรียบเทียบคะแนนแบบวัดพฤติกรรมทางจริย ธรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำแนกตามเพศ และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของเยาวชนที่มีต่อโครงการฝึกอบรมจริยธรรมแก่เยาวชนโดยมีประชากรในการ วิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาคณะครุศาสตร์ ชั้นปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน ๓๙๖ คน จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ๑๙๘ คน ซึ่งได้ มาโดยการสุ่ม อย่างมีระบบร้อยละ ๕๐ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบวัดพฤติกรรมทางจริยธรรม การเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยได้ทำการ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้โปรแกรม สำเร็จรูป โดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าตัวกลางเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ ทดสอบค่าที

ผลการวิจัยพบว่า

  ๑ . จำนวนผู้ตอบแบบวัดพฤติกรรมทางจริยธรรม ๑๙๘ คน ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาหญิงร้อยละ ๗๙. ๓๐ มีอายุระหว่าง ๑๙- ๒๑ ปี ร้อยละ ๕๐. ๕๑ นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๙๓. ๔๔ ศึกษาอยู่ในโปรแกรมวิชาการศึกษาปฐมวัยร้อยละ ๒๔. ๒๔ ศึกษาหลักสูตร ๕ ปี ร้อยละ ๗๗. ๗๘ มีความสนใจใน เรื่องจริยธรรม ร้อยละ ๙๙. ๕๐ และเคยปฏิบัติธรรมในศาสนาร้อยละ ๙๙. ๕๐ ตามลำดับ

        ๒. พฤติกรรมทางจริยธรรมจากค่าคะแนนเฉลี่ยหลังการอบรม และระดับคุณภาพในแต่ละด้าน พบว่าพฤติกรรมทางจริยธรรมของนักศึกษาอยู่ในระดับดี ในทุกด้าน ทั้งนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง ยกเว้นด้านความซื่อสัตย์สุจริตที่ นักศึกษาหญิงมีพฤติกรรมทางจริยธรรมอยู่ในระดับที่ดีมากจากการเปรียบ เทียบพฤติกรรม ทางจริยธรรมของคะแนนเฉลี่ย คิดเป็นร้อยละของคะแนนเต็มก่อนและหลังการอบรม จำแนกตามเพศ พบว่าก่อนการอบรม พฤติกรรม ทางจริยธรรมของนักศึกษา ชาย- หญิง อยู่ในระดับ ร้อยละ ๗๐ ขึ้นไป ยกเว้นด้านความซื่อสัตย์สุจริตของนักศึกษาหญิง คะแนนอยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ ๘๐ และหลังการอบรมพบว่าพฤติกรรม ทางจริยธรรมของนักศึกษาทั้งหมด มีคะแนนเฉลี่ยสูงมากขึ้นในทุกด้าน รวมทั้พบว่าคะแนนของนักศึกษาหญิงสูงกว่า นักศึกษาชายในทุกด้านทั้งก่อนและหลังการอบรม และพบว่าก่อนการอบรมคะแนนเฉลี่ยของนักศึกษาชาย- หญิง มีความแตกต่างกันทางสถิติอยู่เพียง ๒ ด้าน คือด้านความซื่อสัตย์สุจริตและด้านความ ตรงต่อเวลา ส่วนหลังการอบรมพบว่าคะแนนเฉลี่ย มีความแตกต่างกัน ๕ ด้าน คือ ด้านระเบียบวินัยด้านความ กตัญญูกตเวที ด้านความซื่อสัตย์สุจริต ด้านความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และด้านความตรงต่อเวลาที่ระดับนัยสำคัญที่ . ๐๕ และที่ . ๐๑

        ๓. ข้อเสนอแนะของนักศึกษาที่มีต่อโครงการฝึกอบรมจริยธรรมแก่เยาวชน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่จะนำไปใช้ในชีวิตประจำวันและเผยแผ่ต่อรองลงมามี ความเห็นว่าเป็นโครงการที่ดีควรจัดอีก เพราะได้รับประโยชน์มากตามลำดับ

 

โครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันเสาร์

         ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันเสาร์เป็นกิจกรรมเผยแผ่ธรรมอีกโครงการหนึ่ง ของศูนย์อุทยานธรรม ซึ่งบริหารโดยคณะกรรมการมูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรม โครงการนี้เริ่มดำเนินการ เมื่อปีพ. ศ. ๒๕๔๔ ด้วยจิตสำนึกที่อยากให้ชุมชนท้องถิ่น ที่เราอยู่ ได้รับประโยชน์จากการมาอยู่ในชุมชนท้องถิ่นนี้ของเรามูลนิธิ ิอยากตอบแทนด้วยการมีส่วนในการพัฒนาเยาวชน ซึ่งเป็นบุตรหลานของชาวบ้านในชุมชนนั้นซึ่งเป็นเสมือนแก้วตาดวงใจของพ่อแม่ทุกคน ให้มีความรู้คู่ คุณธรรม ประจวบกับ เยาวชนในท้องถิ่นค่อนข้างยากจนเป็นส่วนใหญ่และด้อยโอกาสในหลายด้าน ถ้าเทียบ กับเยาวชนในเมือง มูลนิธิฯจึงเปิดโครงการศูนย์ ์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันเสาร์ขึ้น

         ในปี พ . ศ. ๒๕๔๘ นี้ มีนักเรียนจากโรงเรียนวัดท่าโป่ง และโรงเรียนบ้านห้วยส้ม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ระดับประถมศึกษาปีที่ ๓- ๖ จำนวน ราว ๑๐๐ คน มาเรียนทุกวันเสาร์ ซึ่งมูลนิธิฯ ได้เปิดสอนตั้งแต่วันที่ ๔ มิถุนายนศกนี้โดยสอนทั้งจริยธรรม พุทธศาสนา ภาษาอังกฤษ และศิลปะเป็นการสอน ฟรี และได้เลี้ยงอาหารกลางวันแก่เด็กๆด้วยในปีนี้มูลนิธิฯได้รับการสนับสนุนด้านบุคลากร(คณาจารย์และนักศึกษา)จากภาควิชาภาษาอังกฤษคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และนักศึกษาบางส่วนจากคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ มาช่วยสอนเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการเงินสนับสนุนกิจกรรมมูลนิธิ การดำเนินงานของมูลนิธิฯ ทุกกิจกรรม

 

เงินสนับสนุนล้วนเป็นเงินบริจาค
 

        การดำเนินงานของข้อมูลนิธิฯ ทุกกิจกรรมเงินสนับสนุนล้วนเป็นเงินบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาต่อกิจกรรมของมูลนิธิและเป็นคนไทยทั้งนั้น กล่าวได้ว่าปัญหา อุปสรรคส่วนใหญ่ในการดำเนินงานจะเป็นเรื่องของงบประมาณที่ไม่เพียงพอเท่าใดนัก ( รวมทั้งคนเสียสละช่วยงานก็ค่อนข้างน้อยไป) บางครั้งมูลนิธิฯ ต้อง ทอดผ้าป่าสามัคคี เพื่อหาทุนก่อสร้างอาคารต่างๆ หรือทำกิจกรรมอื่นด้วย แต่กระนั้นทางคณะกรรมการ มูลนิธิก็ยังจะยืนหยัดดำเนินกิจกรรมอันเป็นกุศลนี้ ต่อไป ผู้มีจิตศรัทธาที่ต้องการ สนับสนุนกิจกรรมอันเป็นกุศลของมูลนิธิฯ สามารถติดต่อที่ดิฉัน พรพรรณ สุจริตวณิช มูลนิธิกลุ่มศรัทธาธรรม ๑๔๒
ถ. เมืองสมุทร อ. เมือง จ. เชียงใหม่ ๕๐๓๐๐ โทร. ๐๙- ๗๕๕๔๓๙๙ ธนาณัติสั่งจ่าย ปท. ศรีภูมิ ค่ะ