| home | พุดตานกถา | แก้ปัญหาได้ก็หายเครียด | แบบประเมินความเครียด | ปรากฎการณ์มหัศจรรย ์| ผู้รู้แห่งธิเบต |
| พระพุทธศาสนา (ตอนที่๒๑) | สมาธิเพื่อสุขภาพ | แนวทางเจริญวิปัสสนา | ธรรมะในมิลินทปัญหา | รายนามผู้บริจาค |


 
แบบประเมิณวิเคราะห์ความเครียดด้วยตัวเอง       
 

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

 
 

            ในระยะเวลา ๒ เดือนที่ผ่านมานี้ ท่านมีอาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึก ต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด โปรดขีดเครื่องหมาย /
ลงในช่องระดับอาการที่เกิดขึ้น กับตัวท่าน ตามความเป็นจริงมากที่สุด

อาการ พฤติกรรม หรือความรู้สึก
ระดับอาการ ( คะแนน )
ไม่เคย
เลย
เป็น
ครั้งคราว
เป็น
บ่อย
เป็น
ประจำ

.
นอนไม่หลับเพราะคิดมากหรือกังวลใจ
. รู้สึกหงุดหงิด รำคาญใจ
. ทำอะไรไม่ได้เลยเพราะประสาทตึงเครียด
. มีความวุ่นวายใจ
. ไม่อยากพบปะผู้คน
. ปวดหัวข้างเดียว หรือปวดบริเวณขมับทั้ง ๒ ข้าง
. รู้สึกไม่มีความสุขและเศร้าหมอง
. รู้สึกหมดหวังในชีวิต
. รู้สึกว่าชีวิตตนเองไม่มีคุณค่า
๑๐
. กระวนกระวายอยู่ตลอดเวลา
๑๑
. รู้สึกว่าตนเองไม่มีสมาธิ
๑๒
. รู้สึกเพลียไม่มีแรงจะทำอะไร
๑๓
. รู้สึกเหนื่อยไม่อยากทำอะไร
๑๔
. มีอาการหัวใจเต้นแรง
๑๕
. เสียงสั่น ปากสั่น หรือมือสั่นเวลาไม่พอใจ
๑๖
. รู้สึกกลัวผิดพลาดในการทำสิ่งต่างๆ
๑๗
. ปวด หรือเกร็งกล้ามเนื้อ บริเวณท้ายทอย หลัง หรือไหล่
๑๘
. ตื่นเต้นง่ายกับเหตุการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
๑๙
. มึนงงหรือเวียนศีรษะ
๒๐
. ความสุขทางเพศลดลง

ผลการประเมินและวิเคราะห์ความเครียด

ระดับคะแนน ๐ - ๕

            ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ปกติ ความเครียดในระดับต่ำมาก เช่นนี้ อาจมีความหมายว่า

            ท่านตอบไม่ตรงตามความเป็นจริง หรือ

            ท่านอาจเข้าใจคำถามคลาดเคลื่อนไป

            ท่านอาจเป็นคนที่ขาดแรงจูงใจ มีความเฉื่อยชา

            ชีวิตประจำวันซ้ำซากจำเจ น่าเบื่อ ปราศจากความตื่นเต้น

ระดับคะแนน ๖ - ๑๗

            ท่านมีความเครียดอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันและสามารถปรับตัวกับ
สถานการณ์ต่างๆ ได้อย่าง เหมาะสม รู้สึกพึงพอใจเกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก ความเครียดในระดับนี้ ถือว่ามีประโยชน์ในการดำเนินชีวิต
ประจำวัน เป็นแรง จูงใจที่นำ ไปสู่ความสำเร็จ ในชีวิตได้

ระดับคะแนน ๑๘ - ๒๕

            ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติเล็กน้อย ซึ่งถือว่าเป็นความเครียด ที่พบได้ในชีวิตประจำวันอาจไม่รู้ตัว ว่ามีความเครียดหรืออาจรู้สึก
ได้จากการเปลี่ยนแปลง ของร่างกาย อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรมบ้างเล็กน้อย แต่ไม่ชัดเจน และยังพอทนได้อาจต้องใช้เวลาในการปรับตัว แต่ใน
ที่สุดท่านก็สามารถจัดการ กับความเครียดได้และความเครียดระดับนี้ไม่เป็นผลเสียต่อการดำเนินชีวิต

            ในกรณีนี้ ท่านสามารถผ่อนคลายความเครียดด้วยการหากิจกรรมที่เพิ่มพลัง เช่น การออกกำลังกาย เล่นกีฬา ทำสิ่งที่สนุกสนาน เพลิดเพลิน เช่น
ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือ หรือทำงานอดิเรกต่างๆ หากท่านต้องการป้องกันไม่ให้ความเครียด มากขึ้นในอนาคตท่านอาจฝึกความเครียดตามวิธี
ในหัวข้อต่อไป

            อย่าลืมพูดคุยกับผู้ที่ไว้วางใจ พิจารณาและลงมือแก้ไขปัญหาตามลำดับ ความสำคัญอย่างรอบคอบและมีสติ

ระดับคะแนน ๒๖ - ๒๙

            ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติปานกลาง ขณะนี้ท่านเริ่มมีความ ตึงเครียดในระดับค่อนข้างสูงและได้รับความเดือดร้อน
เป็นอย่าง มากจากปัญหาทางอารมณ์ ที่เกิดจากปัญหาความขัดแย้ง และวิกฤตการณ์ในชีวิตเป็นสัญญาณเตือน ขั้นต้นว่าท่านกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤต
และความ ขัดแย้ง ซึ่งท่านจัดการแก้ไขด้วยความลำบาก ลักษณะดังกล่าวจะเพิ่มความรุนแรง ซึ่งมีผลกระทบต่อการทำงานจำเป็นต้องหา
วิธีแก้ไขข้อขัดแย้งต่างๆ ให้ลดน้อยลงหรือหมดไปด้วยวิธีการอย่างใด อย่างหนึ่ง

            สิ่งแรกที่ต้องรีบจัดการคือ ท่านต้องมีวิธีคลายเครียดที่ดีและสม่ำเสมอทุกวัน วันละ ๑ - ๒ ครั้ง ๆ ละ ๑๐ นาที โดยนั่งในท่าที่สบาย
หายใจลึก ๆ ให้หน้าท้องขยาย หายใจออกช้า ๆ นับ ๑ - ๑๐ ไปด้วย ท่านจะใช้วิธีนั่งสมาธิหรือสวดมนต์ก็ได้

            ท่านควรแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้น โดยค้นหาสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดความขัดแย้ง หาวิธีแก้ไขปัญหาหลายๆ วิธี
พร้อมทั้งพิจารณาผลดีผลเสีย ของแต่ละวิธี เลือกวิธีที่เหมาะสมกับภาวะของตนเองมากที่สุดทั้งนี้ต้องไม่สร้างปัญหาให้เพิ่มขึ้น
หรือทำให้ผู้อื่นเดือดร้อนวางแผนแก้ไขปัญหาเป็น ลำดับ ขั้นตอน และลงมือแก้ปัญหา

            หากท่านไม่สามารถจัดการคลี่คลาย หรือแก้ไขปัญหาด้วยตนเองได้ ควร ปรึกษากับผู้ให้การปรึกษาปัญหาสุขภาพจิตตาม
หน่วยงานต่างๆ

ระดับคะแนน ๓๐ - ๖๐

            ท่านมีความเครียดอยู่ในระดับสูงกว่าปกติมาก กำลังตกอยู่ในภาวะตึงเครียด หรือกำลังเผชิญกับวิกฤตการณ์ในชีวิตอย่างรุนแรง เช่น
การเจ็บ ป่วยที่รุนแรง เรื้อรัง ความพิการ การสูญเสีย ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อ สุขภาพกาย
และสุขภาพจิต อย่างชัดเจน ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข ความคิดฟุ้งซ่าน ตัดสินใจผิดพลาด ขาดความยับยั้งชั่งใจ อาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย
บางครั้งอาจมีพฤติกรรม ก้าวร้าวรุนแรง เช่น เอะอะโวยวาย ขว้างปาข้าวของ

            ความเครียดในระดับนี้ถือว่ามีความรุนแรงมาก หากปล่อยไว้โดยไม่ดำเนิน การแก้ไขอย่างเหมาะสมและถูกวิธีอาจนำไปสู่
ความเจ็บป่วยทางจิต ที่รุนแรง ซึ่งส่งผลเสียต่อตนเองและบุคคลใกล้ชิดต่อไปได้ ในระดับนี้ท่านต้องไปปรึกษาหรือใช้บริการปรึกษาปัญหา
สุขภาพจิตทางโทรศัพท์ ซึ่งจะช่วยให้ท่านมองเห็นปัญหา และแนวทางแก้ไขที่ชัดเจนและเหมาะสมต่อไป

Top