ทัศนะเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ *

 

ไรฮาร์ด

๒๕ มีนาคม ๒๕๔๘

เรียน คุณพรพรรณ

        ขอบคุณมากที่แสดงความสนใจในชีวิตของผม และจะให้เกียรติพิมพ์บางแง่ ของชีวิตผมลงใน “ วารสารทางพระพุทธศาสนา” ความจริงผมรู้สึกไม่สบายใจนักที่ จะต้องแสดงตัวในวารสารทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธผู้มีศรัทธาในประเทศไทย ทั้งๆ ที่ผมเป็นชาวต่างประเทศและไม่ใช่ชาวพุทธ ฉะนั้นจึงไม่แน่ใจว่าจะ สนองความต้องการของคุณได้หรือไม่ อีกอย่างหนึ่งที่อยากจะบอกไว้ก็คือ ผมไม่ใช่ผู้พูดภาษาอังกฤษโดยกำเนิดจึงไม่สามารถระบายสิ่งที่อยู่ในจิตใจ ผมในภาษา เยอรมันออกมาเป็นภาษาอังกฤษได้

๑.ข้อมูลเกี่ยวกับตนเอง

        ผมอายุ ๕๒ ปี สถานะการแต่งงานหย่าร้างกับภรรยา ไม่มีบุตรด้วยกัน เคยทำงานอาชีพมา ๔ อย่าง ๓ อย่างแรกเกี่ยวข้องกัน คือเป็นช่างสร้างเครื่องมือ(ช่างเครื่อง กล) ต่อจากนั้นได้ปริญญาพอจะเทียบได้กับตรีและโทใน ๒ สาขา วิชาในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ( เซอร์โมไดนามิกส์) ผมทำงานมาเป็นเวลา ๑๐ ปี ในแผนกวิจัย และพัฒนาของบริษัทระหว่างชาติในเยอรมัน จนกระทั่งชีวิตแต่งงาน สลายลงเมื่ออายุ ๔๑ แล้วผมก็เริ่มออกเดินทางท่องเที่ยว เมื่ออายุ ๔๓ ผมได้เข้ารับการฝึก อบรม เป็นพยาบาลดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งถือว่าเป็นอาชีพที่ ๔

        ผมไม่สนใจในสิ่งที่เป็นวัตถุมากนักแต่ก็มีวิถีชีวิตที่ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมในตะวันตกได้เป็นอย่างดี ผมชอบอยู่กับธรรมชาติ โดยทั่วๆ ไปก็ไม่ทุกข์แต่ก็ไม่สุขมาก นัก ผมเริ่มออกเดินทางเพื่อแสวงหายามารักษาความทุกข์ของผม ซึ่งอาจจะเป็นชีวิตอีกแบบหนึ่งในวัฒนธรรมอื่น ซึ่งผมหาไม่ได้ในวัฒนธรรมตะวันตกของผม ผม ได้ลองปฏิบัติโยคะด้วยตนเองอยู่ระยะหนึ่ง ส่วนเรื่องสมาธิได้อ่านบ้าง แต่ไม่ได้ปฏิบัติ ในระหว่างเดินทางก็เกิดอยากเรียนรู้เกี่ยวกับสมาธิ

๒ . ความเจ็บป่วย

       หลังจากจบการฝึกฝนเป็นพยาบาลดูแลผู้สูงอายุแล้ว ในตอนปลายปี ๒๕๔๒ ผมก็ได้เริ่มเดินทางอีกครั้ง ขณะพักอยู่ในอินเดียและในประเทศไทย ปี ๒๕๔๓ ผม สังเกต เห็นจุดแข็งๆ ผิดปกติอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ด้านขวา แต่ก็ไม่มีความเจ็บปวดอะไร เนื่องจากบิดาของผมป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon Cancer) และต่อมา ก็ตายด้วย โรคมะเร็งอีกอย่างหนึ่งต่อหน้าผมในเยอรมัน ในเดือนมกราคม ๒๕๔๒ ในที่สุด หลังจากเข้าคอร์สปฏิบัติสมาธิที่วัดสวนโมกข์ในเดือนเมษายน ๒๕๔๓ ผม ก็ไปตรวจ อาการที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งที่กรุงเทพ และหมอวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ ต่อมาอีก ๒ วันก็ได้มีการผ่าตัดที่โรงพยาบาลนั้น ๑ ใน ๓ ของ ลำไส้ใหญ่ถูกตัดทิ้ง แต่ไม่พบเชื้อมะเร็งร้ายในต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง ผมออกจากโรงพยาบาล ๑๐ วันต่อมาแล้วกลับไปที่วัดสวนโมกข์ พักอยู่จนถึง เดือน สิงหาคม ๒๕๔๔ จึงกลับไปเยอรมัน ผมตรวจสุขภาพครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๖ แต่ไม่พบร่องรอยของมะเร็ง แต่นั่นมิได้หมายความว่าโรคมะเร็ง หายแล้วผมไม่มี มะเร็งแล้ว เพียงแต่ว่าในเวลาที่ตรวจสอบนั้น ( ๒ ปี ๕ เดือนหลังการผ่าตัด)เซลล์มะเร็งที่มีอยู่อาจจะเล็กเกินไปจนตรวจไม่พบแต่เมื่อ ตรวจคราว ต่อไปอาจจะพบก็ได้ ซึ่งผมตั้งใจจะตรวจอีกในเดือนกันยายนปีนี้ สำหรับมะเร็งลำไส้ใหญ่นั้น ( ก็เช่นเดียวกับเนื้อร้ายอีกหลายอย่าง) มักจะเจริญเติบโตช้ามาก และ อาจมีโอกาสหายได้ ถ้าหลังจาก ๕ ปีไปแล้ว ไม่พบเซลล์มะเร็งอีก เนื่องจากเซลล์มะเร็งชนิดนี้เจริญเติบโตช้ามาก การรักษาด้วยยา ( ทางเคมี) จึงไม่มีประโยชน์แม้ โรงพยาบาลที่กรุงเทพฯ แนะนำ ผมก็ปฏิเสธ จากเอกสารการวิจัยที่ผมได้อ่านมา ในกรณีอย่างนี้ ต้องปล่อยให้ร่างกายรักษาตัวมันเองระบบต่อต้านโรคจะสามารถจัด การกับเซลล์มะเร็ง ที่เหลือเอง หรือไม่จัดการก็ได้ มี ๓ อย่างที่ผมจะต้องทำเพื่อช่วยให้ร่างกายและระบบต่อต้านเชื้อโรค ทำงานได้ด้วยตัวมันเอง

ก. กินอาหารมังสวิรัติเท่านั้น และผมได้ทำมาตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๔๔

ข . กินวิตามินทุกวัน ( แต่ละเม็ดมีวิตามิน A C และ E) ตามปริมาณที่ระบุไว้ อย่าให้มากกว่านั้น

ค . พยายามอย่าให้ชีวิตมีความเครียด มีน้อยเท่าไรยิ่งดีเท่านั้น ความเครียดและพันธุกรรมจากประวัติการเป็นมะเร็งของบิดาของผม ( ท่านมีเนื้อร้าย ๓ ชนิดใน ระหว่าง อายุ ๕๐ และ ๗๐ ปี ในที่สุดท่านก็เสียชีวิต) อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดมะเร็งในตัวผม ผมอาจจะประสบชะตากรรมแบบเดียวกันหรืออาจจะโชคดีก็ได้ใครจะ ไปรู้? จุดเริ่มต้นแห่งการเกิดเนื้อร้ายของผม อาจจะเนื่องมาจาความเครียดที่เกิดจากการหย่าร้าง ในปี ๒๕๓๖- ๒๕๓๗ ก็ได้ เนื้อร้ายกินเวลา ๑ ปีกว่าจะโตเท่ากับ กำปั้นขนาดเล็ก พอที่ผมจะรู้สึกได้ ซึ่งตรงกับเอกสารเรื่องมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่ผมได้อ่านมาพอดี ตามปกติจะไม่มีอาการใดๆ นอกจากอาการจุกเสียที่กระเพาะอาหาร เล็กน้อยเป็นครั้งคราว ผมสังเกตเห็นครั้งแรกในปี ๒๕๔๓ และมีอาการท้องร่วงเล็กน้อยขณะอยู่ในอินเดียระหว่างกันยายน- ตุลาคม ๒๕๔๐ แต่ก็คิดเสียว่าเป็นของ ธรรมดาสำหรับการท่องเที่ยวในอินเดีย การปวดกระเพาะเริ่มมากขึ้นและบ่อยขึ้น ในต้นปี ๒๕๔๔ ผมจึงตัดสินใจพบหมอ

๓. ธรรมะและพระพุทธศาสนา

        ๓. ๑ ท่านปฏิบัติธรรมกับใครและนานเท่าไร?

        ครั้งแรกที่ผมได้มาสัมผัสกับพระพุทธศาสนาก็คือช่วง ๑๐ วันที่ได้เข้าคอร์สปฏิบัติสมาธิที่วัดสวนโมกข์ เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๓๘ ผมได้ลงทะเบียนเข้าคอร์สเพราะ ความอยากรู้อยากเห็น และรู้สึกมีความสุขที่ระยะ ๑๐ วัน ในระหว่างเข้าคอร์ส และผู้คนที่แสนดีที่ได้พบในระหว่างเข้าคอร์ส เป็นเสน่ห์ดึงดูดให้กลับไปสวนโมกข ์ครั้ง แล้วครั้งเล่า บางครั้งก็อยู่หลายเดือน บางครั้งก็อยู่เฉพาะในช่วงเข้าคอร์ส สรุปแล้วได้ไปเข้าคอร์สที่นั่นกว่า ๔๐ ครั้งแล้ว ไปในฐานะผู้ช่วยทั่วไปและผู้ประสานงานครู ของผมคือพระภิกษุ ฆราวาสและธรรมชาติของสวนโมกข์ วิทยากรที่มาบรรยายเป็นครั้งคราว และเพื่อนร่วมงานในระหว่างคอร์สสำหรับผู้เป็นชาวต่างประเทศ

        ๓ . ๒ ผลของการปฏิบัติธรรม

        จิตใจมีสติดีขึ้น มีความสงบสุขมากขึ้นตามปีที่ผ่านไป อันเป็นผลจากการปฏิบัติสมาธิสม่ำเสมอที่สวนโมกข์ การดำรงชีวิตอย่างง่ายๆ อยู่กับธรรมชาติและการเข้า เกี่ยวข้อง กับผู้ร่วมเข้าปฏิบัติมากมายหลายคนได้ช่วยเปลี่ยนแปลงทัศนะของผมต่อชีวิต ต่อคนอื่นและต่อธรรมชาติ ผมได้กลายเป็นคนเปิดเผยอดกลั้นผ่อนปรน ชีวิต มีความ สมดุลย์มากขึ้น ใจแคบน้อยลง

        ด้านร่างกายก็ได้รับประโยชน์ด้วย ผมทานอาหารมังสวิรัติ ปฏิบัติโยคะสม่ำเสมอ และสอนโยคะทุกวันระหว่างเข้าคอร์สที่สวนโมกข์

          แต่เมื่อกลับไปเยอรมัน การทำงานหนัก ทำให้เห็นว่ายากที่จะปฏิบัติ สมาธิได้อย่างคงที่สม่ำเสมอเต็มรูปแบบ เพราะมีสิ่งที่มาทำให้ไขว้เขวมากมายและไม่มีการสนับ สนุน จากหมู่คณะการปฏิบัติโยคะก็ลดหย่อนลงเช่นกัน

        ๓. ๓ การใช้สมาธิเพิ่มสุขภาพกายและจิต

        ในระหว่างนั่งทำสมาธิตามแบบฉบับ ร่างกายและจิตใจก็สงบนิ่งเป็นครั้งคราว การทำใจให้สงบเป็นการกำจัดความตึงเครียดออกไปจากจิตใจ และทำให้ร่างกาย หายความตึงเครียดครับ เพราะกายกับใจนั้น ก็อย่างที่เรารู้แล้ว ย่อมเกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด ในขณะที่เราใช้เวลานั่งทำสมาธิหรือเดินจงกรมหรือเกี่ยวกับธรรมะ โดยวิธีอื่นๆ เราก็ไม่ได้เบียดเบียนร่างกายและจิตใจของเราด้วยสิ่งมึนเมาชนิดต่างๆ ด้วยอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะหรือด้วยการดูโทรทัศน์

        อีกประการหนึ่งในทัศนะของผม การนั่งทำสมาธิเป็นเวลาหลายๆ ชั่วโมงติดต่อกันนั้นเป็นการฝืนธรรมชาติของร่างกายดังนั้นร่างกายจึงเตือนเราด้วยความเจ็บปวด จึงจำเป็นจะต้องทำให้มันสมดุลย์ด้วยออกกำลังกายที่มีประโยชน์( เช่นโยคะ, ไท้จี) การเดินจงกรม และการทำงานด้วยกาย ( ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในธรรมชาติ)

        ๓ . ๔ หลักธรรมเฉพาะที่ปฏิบัติในชีวิตประจำวัน

        ผมพยายามเฝ้าดูอายตนะ รู้ตัวทั่วพร้อมในผัสสะ การรู้จักธรรมชาติอันไม่เที่ยงแท้แน่นอนที่เกิดขึ้นในตัวผม ช่วยได้อย่างมากในการจัดการกับเรื่องต่างๆ ของโลก

        ๓. ๕ พระพุทธศาสนากับคนไทย

        เนื่องจากอาศัยอยู่ในวัด ส่วนมากผมจึงได้สัมพันธ์กับคนไทยใฝ่ศาสนามากกว่าประเภทอื่นๆ แต่ถ้าพูดโดยทั่วไป ผมเห็นว่าคนรุ่นใหม่ส่วนมากสนใจในเรื่องวัตถุ มาก กว่าเรื่องจิตวิญญาณ ทั้งในชนบทและในเมืองใหญ่แม้เมื่อท่านอาจารย์พุทธทาสยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้วผมเห็นว่าเวลานี้เลวลงไปอีกแม้แต่ผู้มาเข้าคอร์ส ปฏิบัติเป็นครั้งแรกก็จะเกิดความประหลาดใจว่า เขาช่างรู้จักพระพุทธศาสนาน้อยเหลือเกิน รู้จักแต่ประเพณี พิธีกรรมที่กระทำกันอยู่ตามวัดที่เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทุกวัน เท่านั้น ผมคิดว่าเมืองไทยมีวัดมากพอแล้ว ( ผมได้ยินมาว่า มีวัดร้างว่างเปล่านับร้อยนับพัน) เงินบริจาคน่าจะนำไปใช้ในการช่วยเหลือคนยากจน และคนขาดแคลน อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่า

        โดยส่วนตัวไม่ว่าผมจะไปที่ไหนในเมืองไทย ผมได้รับการต้อนรับด้วยดีเสมอ คนไทยที่มาเยี่ยมสวนโมกข์ก็ดีคนที่รู้ว่าผมอยู่ในวัดและกำลังศึกษาธรรมะก็ดีต่างแสดง ความนับถือผมอย่างสูง ทำให้ผมรู้สึกอ่อนน้อมถ่อมตัวลงมาก ผมรู้สึกขอบคุณและซาบซึ้งใจต่อทุกท่านที่มีความปรารถนาดีและให้การอุปถัมภ์บำรุง

        ๓ . ๖ ความแพร่หลายของพระพุทธศาสนาในเยอรมัน

        ความสนใจในเรื่องทางจิตวิญญาณในเยอรมันนับว่าน้อยมากแม้แต่คริสต์ศาสนา ซึ่งเป็นศาสนาหลักในเยอรมันก็ต้องเผชิญกับการสูญเสียผู้อุปถัมภ์มาเป็นเวลาหลาย ทศวรรษแล้ว เท่าที่ผมรู้ในเยอรมันมีคนสนใจพระพุทธศาสนาเพียงเล็กน้อย สำหรับผู้สนใจ มักจะเริ่มต้นตั้งแต่เมื่ออายุยังน้อย มักจะเป็นผู้เคยไปเยี่ยมประเทศทาง พระพุทธศาสนาในเอเชียมาแล้ว

       คนที่สนใจพระพุทธศาสนาก็แบ่งแยกเป็นหลายนิกายที่แพร่หลายที่สุดดูเหมือนจะเป็นพุทธศาสนาแบบธิเบต (เนื่องจากความนิยม ในพระดาไลลามะในโลกตะวันตก) และพุทธศาสนาแบบเซ็น ในเยอรมันมีสำนักปฏิบัติสมาธิหลายแห่ง มีคนไปปฏิบัติในวันสุดสัปดาห์หรือเข้าคอร์ส ๑๐ วัน ผมคาดว่า สถานการณ์ในประเทศอื่นๆ ของ ยุโรปก็เป็นแบบเดียวกัน ประเทศอังกฤษอาจจะแตกต่างออกไปบ้าง เพราะอังกฤษมีมรดกเกี่ยวกับเมืองขึ้นในเอเชีย

        ๓. ๗ ประสบการณ์ในอดีตเกี่ยวกับการเข้าคอร์สปฏิบัติธรรม

        การช่วยงานและการประสานงานในระยะเข้าคอร์สปฏิบัติสมาธิสำหรับชาวต่างประเทศเป็นเวลา ๑๐ วันที่สวนโมกข์นั้น ต้องใช้พลังงานและความอดทนมากจะต้อง คุ้นเคย กับสถานที่และกิจวัตรประจำวัน จะต้องมีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา เฉพาะอย่างยิ่งกับคำสอนของท่านพุทธทาสเป็นพิเศษ

        ชาวตะวันตกมีจิตใจไม่แตกต่างจากชาวเอเชียแต่อย่างใด แต่เนื่องจากเขามาจากวัฒนธรรมที่ต่างกัน วิธีคิดและท่าทีการมองสิ่งต่างๆ จึงแตกต่างออกไปบ้างเนื่อง จากผม เป็นคนตะวันตก ผมจึงรู้วิธีคิดแบบนี้ ดังนั้นผมจึงจัดการกับชาวตะวันตกได้ง่ายกว่าเพื่อนๆ ชาวไทย เฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาสภาพแวดล้อมแห่งการ เข้าคอร์ส สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมที่ส่วนใหญ่เพิ่งมาเป็นครั้งแรก

       โดยเฉลี่ยแล้วมีผู้เข้าร่วมปฏิบัติธรรมในคอร์สประจำเดือน คราวละประมาณ ๑๐๐ คน

        ในระหว่างเข้าคอร์ส ผมตื่นเวลา ๐๔. ๐๐ น. และเข้านอนเวลา ๒๑. ๓๐ น. มีการพักในระหว่างน้อยมากหรือไม่มีเลยตามปกติผมมักจะเป็นคนแรกที่ตื่นขึ้นและเป็น คน เข้านอนคนสุดท้าย บางทีก็รู้สึกเหน็ดเหนื่อย แต่ก็เป็นงานที่คุ้มค่ามากผมยังไม่กล้าพูดว่า ตนคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนาหรือคำสอนของ ท่านอาจารย์พุทธทาส สำหรับผมยังมีทางที่จะต้องเดินอีกยาวนาน เฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อยังจำเป็นต้องอาศัยงานแปลที่เป็นภาษาอังกฤษหรือเยอรมันอยู่แต่เนื่องจากคนที่มาเข้าคอร์สปฏิบัติ ธรรมส่วนมากก็เป็นหน้าใหม่แท้ๆ ในเรื่องพระพุทธศาสนาผมจึงตอบปัญหาส่วนมากของเขาได้และให้คำแนะนำเบื้องต้นได้

       กิจกรรมต่างๆ เช่น การฟังคำบรรยายของวิทยากรอื่นๆ การเตรียมคำบรรยายของตนเองการตอบปัญหาของผู้ปฏิบัติธรรมการจัดการกับเขาแก้ปัญหา แก้ความ สงสัย และความขุ่นเคืองของเขา การร่วมมือกับเพื่อนผู้ช่วยงานคนอื่นๆ การนั่งทำสมาธิในระหว่างงานอื่นและการได้สัมผัสกับธรรมชาติ ได้ช่วยสอนให้ผมรู้จัก พระพุทธศาสนา และการประยุกต์ใช้หลักธรรมกับชีวิต ช่วยให้ผมรู้จักตัวเอง ทำให้ผมไม่อยากพลาดรายการใดๆ

        มีผู้เข้าคอร์สหลายคนทิ้งคอร์สไปตั้งแต่ตอนแรกๆ อยู่เสมอๆ เพราะเขาไม่ได้อะไรดังหวัง คอร์สอาจจะยากเกินไปสำหรับเขา เขาทนไม่ไหวหรือเพราะมีเวลาจำกัด ทำให้ เราเศร้าใจแต่ก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่ส่วนมากก็อยู่จนถึงวันสุดท้าย และเกิดความขอบคุณและเห็นบุญคุณที่ได้รับประสบการณ์เช่นนี้ คือสิ่งที่เป็นรางวัล สำหรับเรา

        ๓ .๘ ท่านเคยคิดที่จะบวชเป็นพระหรือไม่?

        ผมไม่เคยมีแผนการณ์จะบวชและไม่ตั้งใจจะบวชเป็นพระในอนาคต ผมยังไม่พร้อมที่จะดำเนินชีวิตของตนเองด้วยศีล ๒๒๗ และข้อห้ามเพิ่มเติมอื่นๆที่จะต้อง ปฏิบัติใน ฐานะเป็นสมาชิกของสมาคมสงฆ์ ผมพยายามรักษาศีลข้อสำคัญๆ ให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ผมได้ทำมาแล้วเมื่ออยู่ในโลกตะวันตกก่อนจะได้มารู้จักกับ พระพุทธศาสนา ผมมีความสุขกับชีวิตตามที่เป็นอยู่ในขณะนี้ จึงไม่จำเป็นจะต้องไปตั้งใจเปลี่ยนแปลงมัน

       ๓ . ๙ ทำไมพระพุทธศาสนาจึงเป็นที่สนใจทั่วโลก?

        ผมไม่มั่นใจว่าพระพุทธศาสนาหรือศาสนาใดๆ จะเป็นที่สนใจของคนระดับนานาชาติ ผมเห็นด้วยกับท่านอาจารย์พุทธทาสว่า คนควรรู้จักศาสนาของตนเองก่อน ก่อนที่จะ เที่ยวไปแสวงหาศาสนาอื่นๆ ในโลกตะวันตก มีคนเพียงเล็กน้อยที่เบื่อหน่ายทางวัตถุและในเวลาเดียวกันก็เบื่อหน่ายศาสนาของตัวเอง ( ซึ่งตามปกติ ก็ได้แก่ ศาสนาคริสต์แบบใดแบบหนึ่ง) คนเหล่านี้กำลังมองหาบางสิ่งบางอย่างที่แตกต่างออกไปเช่น พระพุทธศาสนา เป็นต้น แต่ก็มีจำนวนน้อยมากส่วนใหญ่ยังถือว่าเขาทุกข์ เพราะขาดปัจจัยทางวัตถุและในเวลาเดียวกันก็ไม่มีความรู้เกี่ยวกับศาสนาท้องถิ่นของตนบางพวกเมื่อรู้ว่าตนไม่มีความสุข ก็มองหาทางออกง่ายๆ มากกว่าจะมาปฏิบัติ ิธรรม หรือปฏิบัติสมาธิในพระพุทธศาสนาที่มีผู้เสนอให้

        สำหรับประเทศไทยนั้น ท่านคงรู้มากกว่าผม มีคนน้อยคนที่สนใจในพระพุทธศาสนาจริงจังมากขึ้น ไม่เฉพาะในด้านพิธีกรรมเท่านั้น แต่สำหรับผมแล้วดู เหมือนว่า คนส่วนใหญ่ เฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนกำลังเหินห่างจากทางธรรม และหันไปทางวัตถุมากขึ้นๆ

        หวังว่าข้อมูลเหล่านี้อาจจะมีประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของคุณบ้าง ถ้าจะมีข้อเท็จจริงหรือทัศนะเพิ่มเติมใดๆ จะมีประโยชน์แก่คุณก็โปรดติดต่อผม ได้โดยไม่ต้อง ลังเล

 

ขอขอบคุณอีกครั้งหนึ่งที่แสดงความสนใจ

ด้วยความนับถือ

ไรฮาร์ด