ปุจฉา - วิสัชชนา วิปัสสนาภาวนา

พระกัมมัฎฐานาจริยะ อู บัณฑิตาภิวังสะ ประเทศพม่า

พิชิต - วิธัญญา ภัทรวิมลพร แปล

ปุจฉา ๑

        ขอท่านอาจารย์ได้โปรดแสดงตัวอย่างวิธีการภาวนา โดยใช้นิวรณ์เป็นอารมณ์ แทนที่จะปล่อยให้นิวรณ์เป็นอุปสรรคในการภาวนา

วิสัชชนา ๑

        นิวรณ์เป็นอารมณ์พื้นฐานของการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ( ธัมมานุปัสสนา) อะไรก็ตามที่ปรากฏขึ้นที่กายที่ใจ ( รูปนาม) ของเราก็ใช้เป็นอารมณ์ในการภาวนา ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่ดีหรือไม่ดี

 

นิวรณ์เป็นทุกขสัจที่ต้องกำหนดรู้ตามความเป็นจริง

        อารมณ์ที่เป็นรูปนามทั้งหลายเหล่านี้ นับเป็นทุกขสัจ * ซึ่งเป็นหนึ่งในอริยสัจสี่ นิวรณ์ ( ยกเว้นกามฉันทะ) ก็เช่นกัน หน้าที่ของเราต่อทุกขสัจนั้นก็คือ การกำหนด รู้ทุกขสัจ อย่างถูกตรงตามความเป็นจริง ดังคำที่ว่า ทุกฺขํปริญฺเญยฺยํ ดังนั้นสิ่งที่เราพึงทำก็คือ กำหนดรู้ ณ จุดที่ทุกขสัจนั้นเกิดขึ้นตามแนวทางวิปัสสนาภาวนาเมื่อ เรา เจริญ ภาวนาอย่าง ต่อเนื่องเราจะสังเกตเห็นว่านิวรณ์เกิดขึ้นและดับไปและเมื่อเห็นนิวรณ์ดับไปเราก็จะระลึกได้ว่านิวรณ์นี้มิใช่ที่น่าพึงพอใจแต่ประการใดเป็น สภาวะ ที่เกิดขึ้นเอง เรามิใช่เป็น ผู้กะเกณฑ์ให้เกิด เป็นสภาวะที่ไม่อาจบังคับบัญชาได้ เราจะประจักษ์แจ้งลักษณะนี้เองโดยอัตโนมัติ

 

นิวรณ์ ..... เครื่องกีดกั้นกุศลธรรม

        ขณะที่นิวรณ์ปรากฏขึ้นในใจของเรานั้น นิวรณ์จะกีดกั้นกุศลธรรมทั้งหลายมิให้เกิดขึ้นในกระแสแห่งการรับรู้ของเรา สมกับที่ได้ชื่อว่า “ นิวรณ์” ซึ่งแปลว่าเครื่อง ปิดกั้น หรืออุปสรรคกีดกั้นความเจริญ เมื่อนิวรณ์ปรากฏในกระแสแห่งการรับรู้นิวรณ์จะฉาบทาจิตให้หม่นหมองจึงนับว่านิวรณ์เป็นอุปกิเลสชนิดหนึ่งนิวรณ์จะปิด กั้น มิให้ปัญญาบังเกิด ขึ้น หรือแม้ว่าปัญญาจะเกิดขึ้นแล้ว นิวรณ์ก็จะทำให้ปัญญาญาณอ่อนกำลังลง ซึ่งเป็นลักษณะหรือกิจของนิวรณ์ที่เรียกว่าปญฺญายทุพพลีกรณ หากมอง ในลักษณะนี้ นิวรณ์จะเป็นสิ่ง ไม่พึงปรารถนา และเป็นอกุศล ธรรม การปฏิบัติต่อนิวรณ์ก็จะเป็นไปในลักษณะเดียวกับการรักษาโรคร้ายคือเริ่มต้นด้วยการ หลีกเลี่ยง ป้องกัน รักษา ต่อสู้ และกำจัดให้สิ้นซาก ผู้ปฏิบัติธรรมจำเป็นต้องมีมาตรการเหล่านี้เช่นกันในการเอาชนะนิวรณ์ให้ได้อย่างเด็ดขาดสิ้นเชิงพระพุทธองค์ ทรงประทาน กลวิธีในการต่อสู้เพื่อเอาชนะนิวรณ์ไว้แล้ว ซึ่งก็คือ สติปัฏฐานภาวนานั่นเอง

 

การเปลี่ยนนิวรณ์ทั้งหลาย ให้เป็นธัมมารมณ์

        คำถามที่ว่าเราจะนำนิวรณ์มาใช้เป็นอารมณ์ภาวนาได้อย่างไรนั้น อันที่จริงนิวรณ์ปรากฏ ในตัวเราอย่างชัดแจ้งอยู่แล้ว โดยเราไม่จำเป็นต้องเชื้อเชิญหรือแสวงหา มาเป็น อารมณ์เพื่อใช้ในการภาวนาเลย ยกตัวอย่างเช่น กามฉันทนิวรณ์ มนุษย์โดยทั่วไปจะถูกกามฉันทะครอบงำอยู่ตลอดเวลา ถ้าเราปล่อยให้นิวรณ์นี้อยู่กับเรา กามฉันทะก็จะมีอำนาจ เหนือเรา บ่อยครั้งเมื่อเราประสบสิ่งที่ไม่พึงปรารถนา พยาปาทนิวรณ์ ก็จะบังเกิดขึ้น และเราก็รู้ว่าความรู้สึกไม่พึงพอใจเกิดขึ้นในตัวเรา หรือบางครั้งเราไม่ต้องการจะทุ่มเทหรือ ใช้พลังในการกระทำอันเป็นกุศล เช่น สติปัฏฐานภาวนา หรือเราตั้งใจอย่างเด็ดเดี่ยวว่าจะพากเพียรปฏิบัติ แต่แล้วเราก็ หมดเรี่ยวแรงอย่างรวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ปรากฏอย่างชัดแจ้งในตัวเราอยู่แล้วเราไม่จำต้องจงใจสร้างภาวะเหล่านี้ขึ้นมาใช้เป็นอารมณ์ภาวนาแม้แต่เวลาที่เราพยายาม รักษาความระลึกรู้ไว้ที่อารมณ์ภาวนาใดๆ การระลึกรู้นั้นก็ไม่สามารถ ดำรงอยู่กับอารมณ์นั้นได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาจะมีความคิด แทรกแซงเข้ามาอยู่เสมอแล้ว เรา ก็จะรู้สึกฟุ้งซ่านกระสับกระส่ายซึ่งก็เป็นอุทธัจจนิวรณ์ที่ทำให้จิตของเราพรากจาก อารมณ์กรรมฐาน สภาวะเช่นนี้ก็ปรากฏในตัวเราอย่างเด่นชัดบางทีเราอาจ รู้สึกละอายใจที่ได้กระทำสิ่งที่ไม่ดีในอดีตและบางครั้งเสียดายที่ได้ละเลย ที่จะประกอบคุณงามความดี บางอย่าง บางครั้งเราก็เคลือบแคลงใจว่าธรรมะหรือคำสอน ที่เราได้รับ จากกัลยาณมิตรผู้มีเมตตากรุณาต่อเรานั้นจะมีประโยชน์ จริงแท้หรือไม่หรือสงสัยว่า สติปัฏฐานจะทำให้บุคคลมีจิตใจหมดจดงดงามล่วงพ้นจากความ เศร้าโศกพิไรรำพัน และบรรลุพระนิพพานได้จริงหรือ เหล่านี้จัดเป็นวิจิกิจฉานิวรณ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชอบวิเคราะห์และจินตนาการ อาจคิดไปว่าไม่จำเป็นต้อง เชื่อถือในสิ่งที่ยังไม่ได้ พิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ เราจึงมักสงสัยความสงสัยเป็นรูปแบบของความรู้อย่างหนึ่ง ซึ่งนับว่าเป็นวิจิกิจฉาเช่นกัน นิวรณ์เหล่านี้ เมื่อปรากฏชัดอยู่ในตัวเรา ย่อมเป็นอุปสรรคต่อการเจริญสมาธิและปัญญา ดังนั้นแล้วเราจะใช้นิวรณ์เป็นอารมณ์ในการภาวนาได้อย่างไรคำตอบก็คือให้กำหนด อารมณ์นิวรณ์นั้นไปไม่จำ เป็นต้องเปลี่ยนอารมณ์ เพราะนิวรณ์ก็เป็นธัมมารมณ์อยู่ในตัวนั่นเอง

        ถ้าหากไม่มีสติปัฏฐานภาวนาแล้วไม่มีวิธีไหนที่จะทำให้นิวรณ์ทั้งหลายกลายเป็นธัมมารมณ์คือธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐานได้เลยเมื่อเราเจริญภาวนาอยู่โดยการ กำหนดรู้ความรู้สึก การเห็น การได้ยิน และการรับรู้ทางผัสสะอื่นๆ อย่างมีสติ อย่างถูกตรงและต่อเนื่อง รวมทั้งในขณะที่เราพยายามประคองสติ เพื่อที่จะไม่เปิด โอกาสให้นิวรณ์ แทรกเข้ามาในความระลึกรู้ได้นั้นนิวรณ์ก็ยังปรากฏอยู่เนืองๆดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องจงใจใช้หรือเลือกสรรนิวรณ์มาเป็นอารมณ์กรรมฐาน อย่างไร ก็ตามเมื่อเราเจริญภาวนา จนเกิดญาณปัญญาในระดับที่สูงขึ้น จิตของเราจะมั่นคงไม่หวั่นไหวเมื่อกามคุณอารมณ์ใดๆ มาก ระทบแม้จะพยายามกระตุ้นจิตใจให้เกิด ความชอบความชัง จิตของเราก็จะไม่เลื่อน ไหลไปตามอารมณ์ดังกล่าวในขณะนั้นเราจะเป็นอิสระจากนิวรณ์อยู่ชั่วระยะเวลาหนึ่ง

 

อะไรเป็นเหตุให้เกิดกามฉันทะนิวรณ์

        ลองพิจารณาดูว่า เหตุใดนิวรณ์เช่นกามฉันทะจึงเกิดขึ้นได้ พระพุทธองค์ตรัสว่า กามฉันทนิวรณ์เกิดจากการที่เราได้เคยประสบกับสิ่งอันน่าพึงพอใจ ไม่ว่าจะเป็น รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสหรือความรู้สึกนึกคิดที่น่ายินดีเมื่อประกอบ กับความเห็นที่ไม่ตรงตามความเป็นจริง เช่น การเห็นสิ่งที่เป็นอสุภะว่าเป็นสุภะ เห็นร่างกายว่า เป็น ของสวยงามน่าพอใจ น่าปรารถนา การเห็นสิ่งทั้งหลายว่าเที่ยงเป็นสุขน่ายินดี และอยู่ในบังคับบัญชาของเรา เราก็จะเกิดความพึงพอใจในกามคุณอารมณ์เหล่า นั้น ด้วยความเห็นผิดดังกล่าวนี้ กามฉันทะที่ยังไม่เกิดก็จะบังเกิดขึ้น ที่เกิดแล้วก็ทวีความรุนแรงยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะความเห็นผิดเหล่านี้เป็นอาหารของกามฉันทะ ถ้า ไม่มีอาหารดังกล่าวกามฉันทนิวรณ์ก็เกิดขึ้น ไม่ได้ หรือเป็นเหมือนเชื้อไฟถ้าไม่มีเชื้อไฟก็เกิดขึ้นไม่ได้ดังนั้นพระพุทธองค์จึงตรัสว่าความเห็นผิดกล่าว คือทิฏฐิวิป ลาส ทั้งหลายเป็นประดุจเชื้อไฟของ กามฉันทนิวรณ์

 

อุบายวิธีเอาชนะนิวรณ์

        อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าเราจะทำอะไรหรือตกอยู่ในสภาวะใดก็ตาม หากเรารู้จักการวางใจที่ถูกวิธี คือกระทำไว้ ในใจโดยแยบคายด้วยอุบายวิธีอันสร้างสรรค์และเหมาะ ควร ซึ่งเรียกว่า “ โยนิโสมนสิการ” แล้วเราก็จะดำเนินชีวิตได้ถูกทิศทางเปรียบได้กับเรือที่มีหางเสือและนายเรือที่ดีแม้จะต้องทวนกระแสน้ำก็จะสามารถนำเรือแล่น ไปให้ ้ถึงจุดหมาย ได้ เมื่อมีโยมิโสมนสิการแล้ว ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตล้วนเป็นเหตุแห่งกุศลกรรมได้ทั้งสิ้น แม้กระทั่งสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาหรือไม่ดีงามตัว เราผู้เปรียบเสมือน ผู้คุมหางเสือแห่งนาวาชีวิตก็จะสามารถพลิกผันเหตุการณ์อันไม่พึงปรารถนาหรือไม่ดีงาม ให้กลับกลายเป็นเหตุแห่งกุศลกรรมได้ ดังนั้น แม้ว่า เราจะถูกนิวรณ์ หรือความเห็นผิด อันใดครอบงำอยู่ก็ตาม เราก็จะสามารถเอาชนะอกุศลกรรมเหล่านั้น และยังกุศลให้เกิดขึ้นได้ด้วยโยนิโสมนสิการ

        ดังนั้น ในการเจริญภาวนา เราควรกระทำไว้ในใจโดยแยบคายอยู่เสมอว่า “ เราจะกระทำแต่สิ่งที่เป็นกุศลเท่านั้น” การวางใจดังกล่าวจะนำพาให้ วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาเจริญขึ้น ซึ่งจะเสริมสร้างกุศลจิตและเอาชนะนิวรณ์ได้เอง หากเราสามารถกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ อย่างถูกตรงและต่อเนื่องทั้งความระลึกรู้ที่เกิดขึ้นก่อน ความ ระลึกรู้ที่ตามมา สืบต่อกันไปเป็นสาย เมื่อมีสติกำหนดรู้อารมณ์อยู่เช่นนี้ ความยึดมั่นในกามคุณอารมณ์ก็ย่อมเกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นประการแรก จำต้องมีความ เห็นที่ถูกต้อง มีโยนิโส มนสิการ ประการที่สอง มีสติที่เข้มแข็ง มั่นคงประการ ที่สามอยู่ในสถานที่อันเหมาะสมที่ซึ่งมีบุคคลผู้เป็นกัลยาณมิตรที่จะชี้ทาง แห่งความ บริสุทธิ์และห่างไกลจากนิวรณ์ได้ ประการ สุดท้าย ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมแน่วแน่ในวิถีทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ดีงาม ( อัตตสัมมาปณิธิ) เมื่อประกอบกับ ความ เป็นผู้ที่ได้สั่งสมคุณความดีไว้ในอดีต เราย่อมบรรลุความ งอกงามไพบูลย์ สามารถดำเนินไปในหนทางชีวิตอันถูกต้อง จวบจนถึงที่สุดแห่งทุกข์และหากสามารถเข้า ถึงอนาคามิผลได้ เราจะสามารถกำจัดกามฉันทนิวรณ์ได้อย่างสิ้นเชิงด้วย การประหารของอนาคามิมรรค

        โดยสรุปแล้วพระพุทธองค์ทรงมีพุทธประสงค์ที่จะให้เรารู้ว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดนิวรณ์ต่างๆ มีกามฉันทนิวรณ์เป็นต้นนั้นได้แก่ อโยนิโสมนสิการปัจจัยที่จะป้องกัน ไม่ให้เกิด กามฉันทนิวรณ์ได้แก่ โยนิโสมนสิการ

อนึ่ง พระอรรถกถาจารย์ได้แสดงวิธีเอาชนะกามฉันทนิวรณ์ไว้หกประการ คือ

๑. อสุภนิมิต - เห็นกามคุณอารมณ์เป็นของไม่สวยงาม

๒. อสุภภาวนา - เจริญอสุภกัมมัฏฐาน

๓. อินทรียสังวร - สำรวจอินทรีย์หก ( ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ)

๔. โภชเนมัตตัญญุตา - รู้ประมาณในการบริโภค

๕. กัลยาณมิตตตา - การคบเพื่อนที่ดี

๖. สัปปายกถา - การกล่าวถ้อยคำที่ไม่เกื้อกูลต่อกามคุณอารมณ์

 

ปุจฉา ๒

        โยคีควรทำอย่างไรเมื่อรู้สึกว่าประสบการณ์ภาวนาของตนชะงักงันไม่ก้าวหน้าเป็นเวลานาน และศรัทธาของตนก็เริ่มเสื่อมถอยลง

วิสัชชนา ๒

        การปฏิบัติจะก้าวหน้าหรือไม่มิใช่หน้าที่ของโยคีที่จะตัดสิน การนึกคิดดังกล่าวไม่ใช่สิ่งที่โยคีควรกระทำ สิ่งที่โยคีพึงกระทำคือ ต้องตระหนักว่าโยคีสามารถกำหนดรู้ หรือมีสติ สัมปชัญญะหรือไม่ ขณะที่เจริญสติ โยคีสามารถสังเกตอารมณ์ต่างๆ ได้อย่างชัดเจนหรือไม่ สติของโยคีมีพลังหรือมีคุณภาพในระดับใดแม้โยคีจะคิดว่า การภาวนาของ ตนกำลังเป็น ไปด้วยดี วิปัสสนาจารย์ก็อาจมีความเห็นไม่ตรงกับโยคีก็ได้ หรือแม้โยคีคิดว่า การปฏิบัติของตนไม่ก้าวหน้าเลย วิปัสสนาจารย์ก็อาจ เห็นเป็นอื่นได้

 

จุดมุ่งหมายของสติปัฎฐานภาวนา

        ไม่ว่าจะทำอะไร เราต้องทำอย่างมีจุดมุ่งหมาย ในการภาวนาก็เช่นเดียวกัน จุดมุ่งหมายของการเจริญสติปัฏฐานภาวนา คือ การล่วงพ้นจากสิ่งเศร้าหมองทั้งปวง เมื่อสิ่ง เศร้า หมองหรือความไม่บริสุทธิ์เหล่านี้ปรากฏขึ้นในจิตใจ ย่อมเป็นสาเหตุให้เกิดความทุกข์หากเราปรารถนาความสุขและความบริสุทธิ์หมดจดแห่งจิตใจเรา ก็เพียง แต่ขจัดสาเหตุแห่ง ความทุกข์เหล่านี้ ด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่น สำรวมระวังกายใจหรือต่อสู้เอาชนะจนกระทั่งสามารถกำจัดเครื่องเศร้า หมองต่างๆได้อย่าง สิ้นเชิงอย่างไร ก็ตามการใคร่ครวญถึง จุดมุ่งหมายดังกล่าวนั้นไม่ควรให้เกิดขึ้นในขณะ ปฏิบัติภาวนาเพียงแต่ให้มีไว้ก่อนปฏิบัติได้

 

หน้าที่ของโยคี

        นอกจากนี้โยคีไม่ควรจดจ่อหรือตั้งความปรารถนาอย่างแรงกล้าเพื่อความก้าวหน้าในการปฏิบัติมากเกินไปหากโยคีมีความรู้สึกเช่นนี้โยคีควรจะกำหนดรู้ความรู้สึก นี้ด้วย บ่อยครั้งโยคีอาจจะคิดหรือวิเคราะห์มากมายเกี่ยวกับการปฏิบัติของตน โดยเฉพาะโยคีที่ต้องการความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วดังนั้นเมื่อโยคีพากเพียรปฏิบัต ิแล้วรู้สึกว่าไม่ก้าวหน้า โยคีก็มักจะเสียใจ ท้อใจ จนอาจถึงกับหมดศรัทธาที่จะปฏิบัติต่อไปความรู้สึกเช่นนี้แก้ไขได้ด้วยการมีสติเข้าไปกำหนดความรู้สึกนั้นๆ หากเรา พยายามวิเคราะห์หรือเปรียบเทียบ ว่าเรากำลังก้าวหน้าในการภาวนาหรือไม่ ทัศนคติเช่นนี้ จะทำให้การปฏิบัติของเราล่าช้า หรืออาจถึงกับทำลายการปฏิบัติของเรา ได้ มีสิ่งเดียวเท่านั้นที่โยคีต้องกระทำ คือ กำหนดรู้อารมณ์ที่เด่นชัดในปัจจุบันขณะอย่างเที่ยงตรง และมีพลัง นอกนั้นก็ไม่มีอะไรอื่นที่โยคีจะต้องทำหากโยคีสามารถ ทำเช่นนี้ได้จริงๆ กล่าวคือสามารถกำหนด รู้อารมณ์ ทุกอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ โยคีย่อมประสบความก้าวหน้าในการเจริญภาวนา

การเจริญภาวนา เหมือนการลับมีดบนแผ่นหิน

        การเจริญสมาธิและปัญญานั้น อุปมาเหมือนการลับมีดที่ทื่อให้คมบนแผ่นหิน มีอยู่สองสิ่งที่ต้องกระทำคือ วางมีดในตำแหน่งที่ทำมุมพอดีกับแผ่นหิน และใส่พลัง เข้าไป อย่างสม่ำเสมอ ในการลับมีดหากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งเราก็ไม่อาจลับมีดให้คมได้เช่น ตั้งมีดไม่ถูกกับตำแหน่งหินหรือใส่พลังไม่ต่อเนื่องสม่ำเสมอเป็นต้น การเจริญภาวนา ก็เช่นกัน เราจำ เป็นต้องสังเกตและระลึกรู้อารมณ์ต่างๆโดยมีใจจดจ่อที่อารมณ์นั้นอย่างเที่ยงตรงและพากเพียรรักษาความจดจ่อ ต่อเนื่องในการ ระลึกรู้หากปราศจาก สิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วเราก็มิอาจลับ ปัญญาญาณให้แหลมคมได้ ถ้าขาดองค์ประกอบอันใดอันหนึ่งหรือทั้งสองอย่างแม้จะปฏิบัติจนตลอดชีวิตก็ ไม่สามารถจะเจริญก้าวหน้าได้

 

การเจริญภาวนาที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ

        อันที่จริง โยคีสามารถรู้ได้ด้วยตนเองว่า โยคีมีความก้าวหน้าในการภาวนาหรือไม่หากโยคีสามารถกำหนดรู้อารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้น เริ่มจากอารมณ์หลักในการภาวนา เช่น การพอง- ยุบของท้อง หรืออารมณ์อื่นใดที่ปรากฏเด่นชัด ในความรู้สึกในขณะนั้นหากโยคีมีสติระลึกรู้อารมณ์ต่างๆโดยตลอดและตระหนักได้ถึงธรรมชาต ิที่แท้ จริงของอารมณ์ เหล่านั้น ก็นับว่าใช้ได้ ไม่ต้องห่วงหรือกังวลเลยว่า การปฏิบัติภาวนา ก้าวหน้าหรือไม่ หากมีสติสัมปชัญญะอยู่อย่างถูกต้องโยคีก็กำลังก้าวหน้าไป เรื่อยๆ การเจริญภาวนานั้นคือการพัฒนาหรือปลูกฝังพฤติกรรมทางกาย วาจาใจให้บริสุทธิ์หมดจด ละเมียดละไมอ่อนโยนและงดงามการรักษาตนให้บริสุทธิ์ปราศ จากความด่างพร้อยนับเป็นการเกื้อกูลผู้อื่นด้วย เนื่องจากเราจะมิได้ก่อเวรภัยให้แก่ใคร นอกจากนี้มีสิ่งที่ควรปฏิบัติซึ่งจะสนับสนุนให้การเจริญภาวนาของโยคีก้าว หน้า ได้แก่ การฟัง ( ธรรมหรือคำสั่งสอนของครูบาจารย์) อย่างตั้งใจ และการพากเพียรปฏิบัติด้วยความเคารพและเอาใจใส่

 

โยคี ๔ ประเภท

        ประสบการณ์ในชีวิตการเป็นครูผู้สอนและเป็นผู้เจริญภาวนากว่า ๔๐ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่อาตมาอยู่ที่สำนักกรรมฐานและประพฤติปฏิบัติตามโอวาทของท่าน อาจารย์ มหาสีสยาด่อ ผู้มีพระคุณอย่างสูงยิ่งนั้น อาตมาได้พบโยคี ๔ ประเภท คือ

๑. โยคีที่พูดเก่งและชัดเจน คือ โยคีเหล่านี้จะเจริญภาวนาด้วยความเคารพและระมัดระวังไม่จงใจคิดวิเคราะห์ใดๆ และสามารถรายงานผลการปฏิบัติได้ชัดเจน อาตมา ถือว่าเป็นโยคีที่ดีที่สุด มีความก้าวหน้าในการปฏิบัติภาวนาและสามารถจะได้รับข่าวดีภายในเวลาเพียง ๓ สัปดาห์

๒. โยคีที่พูดเก่งแต่ไม่ชัดเจน คือรายงานผลการปฏิบัติสับสนไม่ชัดเจน โยคีเหล่านี้ไม่สามารถรายงานผลการปฏิบัติได้อย่างกระจ่างชัด แม้จะก้าวหน้าในการเจริญสมาธิ ิและปัญญาไปด้วยดีก็ตาม

๓. โยคีที่พูดน้อยแต่ชัดเจน คือแม้จะพูดน้อยแต่สามารถรายงานผลการปฏิบัติได้ชัดเจน โยคีเหล่านี้จะรายงาน ผลการเจริญภาวนาได้ชัดเจนดีมาก และอาจได้ยิน ข่าวดีในการปฏิบัติภายใน ๖- ๘ สัปดาห์ สำหรับโยคีประเภทนี้ ครูบาอาจารย์จะไม่มีภาระที่จะต้องแนะนำมาก เพราะจะสามารถแก้ไขวิธีการปฏิบัติของโยคีได้ง่าย และ หากโยคีปฏิบัติตามคำแนะนำของครูบาอาจารย์ โยคีก็จะสามารถพัฒนาการปฏิบัติของตนต่อไปได้

๔. โยคีที่พูดน้อยและรายงานผลการปฏิบัติสับสน โยคีเหล่านี้จะให้คำแนะนำได้ยากลำบากมาก

        ดังนี้ โยคีทั้งหลายคงสามารถแจกแจงไว้ว่าตนเองเป็นโยคีประเภทใด อย่างไรก็ตามโปรดระลึกว่าโยคีไม่ควรตั้งความปรารถนาในความก้าวหน้ามากเกินไปสิ่งที่โยคี ต้องทำมีอย่างเดียวเท่านั้น คือ มีสติสัมปชัญญะ ระลึกรู้การเกิดขึ้นของอารมณ์ในทุกๆ ขณะ นี้คือหน้าที่หรือความรับผิดชอบประการเดียวของโยคี

 

ปุจฉา ๓

        หากในขณะที่เจริญภาวนาอยู่ มีอารมณ์สองอย่างหรือหลายอย่างเกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในขณะเดียวกัน เช่น อาการปวดหลัง กับอาการพอง- ยุบของท้องจึงดูเหมือน ว่ามีอารมณ์ ให้เลือกที่จะใส่ใจกำหนดจดจ่อลงไป ตราบเท่าที่อารมณ์นั้นเป็นปรมัตถสภาวะ มิใช่บัญญัติอารมณ์ จะสำคัญไหม ว่าเราจะต้องเลือกกำหนดรู้อารมณ์ใด โดยเฉพาะ อย่างยิ่งเมื่อสมาธิ ของผู้ปฏิบัติมีความตั้งมั่นและสามารถจะดำรงอยู่กับอารมณ์ใดก็ได้ตามแต่ผู้ปฏิบัติจะต้องการ

 

วิสัชชนา ๓

        ตามธรรมนิทเทส หรือพระธรรมเทศนาในพระคัมภีร์รวมทั้งคำสอนของท่านอาจารย์มหาสีสยาด่อ มีคำกล่าวว่า “ ใช้อารมณ์ที่ชัดเจนเป็นอารมณ์ในการเจริญ วิปัสสนา ภาวนา” ขณะที่นั่ง อาการพอง- ยุบของท้องจะเป็นอารมณ์ที่ชัดเจนที่สุดสำหรับคนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะสำหรับผู้เริ่มเจริญภาวนา คำถามก็คือ “ เราจำเป็น ต้องกำหนด รู้อารมณ ์ ์เพียงอารมณ์เดียวหรือไม่” หากมีอารมณ์อื่นปรากฏชัดเจน เช่น อาการคัน ความเจ็บปวด ความคิด ฯลฯ หากอารมณ์ใหม่ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น อย่างเด่นชัด ผู้ปฏิบัติ ิก็สามารถทิ้งอารมณ์ ที่เป็นหลักในการเจริญภาวนาเพื่อไปกำหนดรู้อารมณ์ที่ชัดเจนดังกล่าวได้แต่ถ้าผู้ปฏิบัติทิ้งอารมณ์หลักแล้วก็ไม่กำหนด อารมณ์ใหม่ที่เด่นชัดด้วย ก็นับว่า ผู้ปฏิบัติพลาดที่จะกำหนด รู้ หรือขาดสติไปแล้ว ดังนั้นหากอารมณ์ใหม่เกิดขึ้นอย่างเด่นชัด ผู้ปฏิบัติก็สามารถกำหนดรู้ อารมณ์ ดังกล่าวได้ และเมื่ออารมณ์นั้นจาง คลายหรือหมดสิ้นไป ผู้ปฏิบัติก็พึงกลับไป กำหนดรู้อารมณ์หลักที่เด่นชัด คือ พอง- ยุบอีกหากไม่มีอารมณ์เด่นชัดอื่นใดปรากฏ ขึ้น ผู้ปฏิบัติก็สามารถกำหนดรู้อารมณ์หลัก คือ พอง- ยุบไปได้เรื่อยๆ

 

กำหนดรู้อารมณ์ใดก็ได้ที่เด่นชัดที่สุด

        เมื่อสมาธิมีความตั้งมั่น และปัญญาญาณของผู้ปฏิบัติเจริญขึ้น ผู้ปฏิบัติจะระลึกรู้เพียง “ สภาวะ” ของอารมณ์ต่างๆ เท่านั้น ดังนั้นขณะที่กำหนดรู้อาการพอง- ยุบ ผู้ปฏิบัติ ก็จะระลึกรู้ “ สภาวลักษณะ” อันได้แก่ ความเคร่งตึง ผ่อนคลาย หรือเคลื่อนไหว เป็นต้น ไปพร้อมกัน นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติก็จะระลึกรู้ “ สามัญลักษณะ” ทั้ง สามประการ ด้วย (คืออนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา) หากผู้ปฏิบัติสามารถระลึกรู้อารมณ์ได้ในลักษณะนี้อย่างราบรื่น และเลื่อนไหลไปเรื่อยๆ ผู้ปฏิบัติก็สามารถ กำหนด รู้อยู่กับอารมณ ์ ์หลัก โดยไม่ต้อง กำหนดรู้อารมณ์อื่น แม้ว่าจะมีอารมณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ ไม่ถือว่าผิดแต่อย่างใด

        ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า ขณะที่ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้อารมณ์หลักและมีอารมณ์อื่นที่เด่นชัดเกิดขึ้น ผู้ปฏิบัติสามารถเลือกอารมณ์ใดก็ได้ที่เด่นชัดสุดเป็นอารมณ์ภาวนา หากอารมณ์ ์หลักและอารมณ์ที่เกิดขึ้นใหม่มีความเด่นชัดพอๆ กัน ผู้ปฏิบัติจะกำหนดรู้อารมณ์ใดก็ได้ตามต้องการ

 

ระลึกรู้ด้วยใจ

        เมื่อผู้ปฏิบัติเจริญภาวนาเรื่อยไปโดยราบรื่นผู้ปฏิบัติจะสามารถกำหนดรู้อารมณ์ต่างๆ ได้ โดยไม่ต้องใช้คำ บริกรรมเป็นเพียงการระลึกรู้ด้วยใจ การภาวนาจะมี พลัง ขับเคลื่อน ไปเองตามธรรมชาติ ผู้ปฏิบัติจะไม่รู้สึกอยากจะเปลี่ยนอารมณ์ภาวนา ราวกับว่าจิตของผู้ปฏิบัติเกาะติดอยู่กับอารมณ์อย่างแนบแน่นไปเอง ยกตัว อย่างเช่น ขณะที่กำหนด รู้อาการพอง - ยุบ ผู้ปฏิบัติจะระลึกรู้ความเคร่งตึงเคลื่อนไหวต่างๆ ของท้องได้อย่างเด่นชัดมากลักษณาการของจิต เช่นนี้จะเกิดขึ้นโดย เฉพาะเมื่อผู้ปฏิบัติ เข้าถึงวิปัสสนาญาณขั้นสูง ขึ้นไป ดังเช่น สังขารุเปกขาญาณ ซึ่งเป็นสภาวะแห่งการระลึกรู้สังขารธรรมทั้งปวงด้วยความเป็นกลางจิตของผู้ ปฏิบัติจะอ่อนโยน นุ่มนวลและ ลุ่มลึกอย่างยิ่ง ขนาดที่แม้ผู้ปฏิบัติจะ พยายามส่งจิตออกไประลึก จดจำ หรือคิดใคร่ครวญ ถึงกามคุณอารมณ์ใดๆ จิตของผู้ปฏิบัต ิ ิก็จะไม่ออก ไปเสวยอารมณ์ดังกล่าว แต่จะกลับมาตั้งมั่นเป็นกลางอยู่ราวกับการหมุนกลับ มาเองของบูมเมอแรงเมื่อถูกขว้างออก ไปฉันนั้น

 

ไม่เลือกอารมณ์ภาวนา

        ผู้ปฏิบัติบางคนอาจต้องการเลือกกำหนดรู้เฉพาะอารมณ์ภาวนาที่ตนเองชอบ อาตมาไม่แนะนำให้ทำเช่นนั้น เพราะไม่ว่าเราจะชอบหรือไม่ สิ่งสำคัญที่สุดก ็คือการ เจริญ ภาวนาจะต้องดำเนินไปตามวิถีแห่งอริยธรรมทั้งแปด เมื่อเราเจริญมรรคมีองค์แปดอยู่นั้น หากการปฏิบัติของเรายังไม่มีพลังเพียงพอ เราก็ต้องเสริมกำลัง ให้การเจริญภาวนา มีความเข้มแข็ง ดังนั้น ผู้ปฏิบัติไม่ควรกังวลว่าจะต้องเลือกกำหนดรู้อารมณ์ใด อะไรก็ตามที่ปรากฏขึ้นในการรับรู้ให้ถือเสียว่าเรากำลัง เจริญ อริยมรรคทั้งแปดได้ การเจริญภาวนา ของผู้ปฏิบัติก็ย่อมจะถูกต้อง

 

เจริญภาวนาตามวิถีแห่งมรรค

        การเจริญภาวนาตามวิถีแห่งมรรคมีองค์แปดคืออย่างไรเล่า ตราบเท่าที่ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาวะลักษณะและสามัญลักษณะของอารมณ์ใดๆที่ปรากฎเด่นชัดได้อย่าง ถูกตรง ก็ชื่อว่าผู้ปฏิบัติเจริญศีลธรรมอย่างครบถ้วน เมื่อสมาธิและสติของผู้ปฏิบัติหยั่งลึกและมั่นคงมากขึ้น ก็เรียกว่า ผู้ปฏิบัติกำลังเจริญสมาธิมรรคอยู่ และเมื่อ การกำหนดรู้ของ ผู้ปฏิบัติ เท่าทันปัจจุบันอารมณ์จนผู้ปฏิบัติประจักษ์แจ้งธรรมชาติอันแท้จริงของอารมณ์ทั้งปวง ก็เท่ากับผู้ปฏิบัติเจริญ ปัญญามรรคอยู่แล้ว ดังนั้น ในขณะที่ผู้ปฏิบัติเจริญ ภาวนาอยู่ ไม่ว่าผู้ ปฏิบัติจะใช้อารมณ์ภาวนาอันใดตราบเท่าที่ผู้ปฏิบัติดำเนินอยู่ในวิถีแห่งมรรคมีองค์แปดข้างต้น ( ซึ่งสรุปรวมได้ สามกลุ่มคือ ศีล สมาธิ และปัญญา) ก็นับว่าเป็นการปฏิบัติที่ถูกต้อง

        เมื่อผู้ปฏิบัติเลือกอารมณ์ภาวนาเพื่อกำหนดรู้นั้นสิ่งที่อาจเกิดขึ้นลึกๆในจิตใจของผู้ปฏิบัติ คือความรู้สึกปฏิเสธผลักไสอารมณ์ต่างๆ หากเราปรารถนาอารมณ์ดีๆ หรือ อารมณ์ที่เราชอบ ก็เทียบเท่ากับความอยาก ( โลภะ) ที่จะได้อารมณ์ดีๆนั้นซึงนับเป็นภาวะจิตที่เป็นอกุศลในทางตรงกันข้ามหากมีอารมณ์ที่เราไม่ชอบใจปรากฏ ขึ้น และเราก ็ ็รู้สึกไม่พอใจ ความไม่พึงพอใจก็คือ โทสะหรือพยาบาทอีกรูปแบบหนึ่ง ดังนั้นไม่ว่าจะมีอารมณ์ที่ดีหรือไม่ดี หน้าที่ของผู้ปฏิบัติก็คือกำหนดรู้สภาวะ ที่แท้ของ อารมณ์เหล่านั้น ด้วยความเที่ยงตรง โดยไม่เลือก ไม่วิเคราะห์ไตร่ตรองใดๆ ไม่ว่าจะกำหนดรู้อารมณ์ใดๆ ทั้งชอบใจหรือไม่ชอบใจให้กำหนดรับรู้อารมณ์ เหล่านั้นไปตาม สภาวะที่เป็นจริง ผู้ปฏิบัติ ต้องเพียรพยายามดำเนินไปตามทางแห่งมรรคมีองค์แปดอยู่เสมอ

 

ปุจฉา ๔

        อะไรคือเครื่องบ่งชี้ว่า วิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว

วิสัชชนา ๔

         อาตมาจะขอถามผู้ที่ตั้งคำถามข้างต้นดังนี้ : ขณะที่กำลังกำหนดรู้อารมณ์ที่เป็นหลักในการเจริญภาวนาหรืออารมณ์ใดก็ตามที่เกิดขึ้นผู้ปฏิบัติสามารถระลึกรู้สภาว ลักษณะ หรือสามัญลักษณะของอารมณ์นั้นได้หรือไม่ ผู้ปฏิบัติเกิดความระลึกรู้ว่าสภาวธรรมต่างๆ ล้วนไม่คงทนถาวรเกิดขึ้นแล้วก็ดับไปหรือไม่หากผู้ปฏิบัติสังเกต เห็นลักษณะ ทั้งสอง (คือสภาวลักษณะและสามัญลักษณ) แล้วก็เรียกได้ว่าวิปัสสนาญาณได้เกิดขึ้นแล้ว

 

ไตรลักษณ์ สามลักษณะ

        ในการระลึกรู้สามัญลักษณะ ( เช่น อนิจจัง) นั้น ผู้ปฏิบัติจะเกิดความเข้าใจ หรือประจักษ์แจ้งลักษณะสามประการคือ

ประการที่หนึ่ง ผู้ปฏิบัติจะต้องระลึกรู้ความไม่เที่ยง(อนิจจัง)
ประการที่สอง ผู้ปฏิบัติจะต้องระลึกรู้ลักษณะเฉพาะของความไม่เที่ยง(อนิจจลักษณะ)
ประการที่สาม ผู้ปฏิบัติจะต้องระลึกรู้ความประจักษ์แจ้งในลักษณะเฉะพาะแห่งความไม่เที่ยงนั้น(อนิจจานุปัสสนา)

       
         ขณะที่ผู้ปฏิบัติกำหนดรู้กายและจิตอยู่นั้น ผู้ปฏิบัติจะสังเกตเห็นลักษณะเฉพาะที่เป็นแก่นแท้ หรือสภาวะที่แท้จริงของรูปนาม เช่น ความเคร่งตึงเคลื่อนไหวร้อน เย็น เหนียว เกาะกุม อ่อน เบา แข็งกระด้าง รวมทั้งการเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัสทางกาย และความรู้สึกในใจต่างๆ เหล่านี้เรียกว่า“นามรูปสภาวะ” หรือ สภาวะ ตามธรรมชาติ ของร่างกายและจิตใจ ซึ่งล้วนแต่ไม่คงทนถาวรสภาวลักษณะเหล่านี้เป็นสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นหรือปรากฏขึ้นจากเหตุปัจจัยหรือเงื่อนไข ต่างๆ ซึ่งไม่เคยอยู่คงที่ เลื่อนไหลเกิดดับสลับกันไปอยู่ตลอดเวลา สภาพแห่งการเกิดขึ้นและดับไปของสิ่งที่ถูกปรุงแต่งขึ้นทั้งหลายนี้ ในคัมภีร์เรียกว่าสภาวธรรม หรือ สภาวะ ลักษณะ อาการลักขณะ อนิจจลักขณะหรือสามัญลักขณะ เนื่องจากเป็นลักษณะที่เป็นสามัญหรือเสมอกันของสิ่งทั้งปวง

        เมื่อผู้ปฏิบัติกำหนดรู้สภาวลักขณะดังนี้ ผู้ปฏิบัติย่อมสังเกตเห็นการเคลื่อนที่ทดแทนกันของสิ่งที่ปรากฏอยู่ ก่อนซึ่งดับไปและสิ่งที่ปรากฎใหม่เกิดขึ้นแทนเป็น ขณะๆ เลื่อนไหลไม่ขาดสาย การประจักษ์แจ้งอนิจจลักขณะดังนี้ ก็คืออนิจจานุปัสสนาปัญญา คำว่า “ วิ” หมายถึง หลากหลายลักษณาการซึ่งลักษณะที่กล่าวถึงใน ที่นี้คือ ความไม่เที่ยง “ปัสสนา” คือ การเห็น เมื่อบุคคลได้เห็นความไม่เที่ยงคือการเกิดขึ้นและดับไปของรูปนามแล้ว จึงกล่าวว่า วิปัสสนาปัญญาได้เกิดขึ้นแก่บุคคล ผู้นั้นแล้ว

 

ความหมายที่แท้จริงของ “ วิปัสสนา”

        ในยามที่เรามองเห็นสิ่งต่างๆร่วงโรยสูญสลายไปเช่นเห็นต้นไม้ล้มลงหรือภาชนะแตกหัก เรามักจะคิดว่า “ อนิจจา.................. อะไรๆก็ไม่เที่ยง” แต่ความคิด เช่นนีE#3618;ังไม่ใช่ลักษณะที่แท้จริงของอนิจจังเพราะยังเป็นการรู้อนิจจังโดยความคิดนึกหรือ “ อนิจจสัญญา” มิใช่ “ อนิจจลักขณะ” ที่แท้ต่อเมื่อบุคคลประจักษ์การ แจ้ง เกิดขึ้นและดับไป ของสภาวะรูปและนามต่างๆ ที่กำลังกำหนดรู้อยู่จึงกล่าวได้ว่าบุคคลผู้นั้นรู้ชัดอนิจจลักขณะแล้วเมื่อเราเห็นอนิจลักขณะเราย่อมใคร่ครวญ และประจักษ์ชัดอยู่เองว่า สิ่งทั้งหลายล้วนไม่เที่ยงซึ่งนับเป็นอนิจจานุปัสสนา เมื่อเห็นแจ้งดังนี้เราอาจจะระลึกรู้ด้วยว่าสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นย่อมไม่น่าพึงพอใจแล้ว เราจะระลึกต่อไปว่าสิ่งทั้งปวงไม่มีตัวตนที่จะ บังคับได้ดังน ี้ ี้เมื่อเรารู้ชัดอนิจจลักขณะก็กล่าวได้ว่าเราจะระลึกรู้ทุกขลักขณะและอนัตตลักขณะไปด้วย ความหมาย ที่สมบูรณ์ของ “ วิปัสสนา” นั่นก็คือการเห็นโดยลักษณาการ ต่างๆ อันได้แก่ การเห็นโดยความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นั่นเอง การระลึกรู้เพียงสภาวลักษณะ เช่น ความเคร่งตึง เคลื่อนไหว ฯลฯ ต่างๆ นั้นยังไม่เพียงพอหรือแม้แต่การรู้เหต ุปัจจัยของนามรูปต่างๆ ก็ยังไม่เรียกว่าเกิดวิปัสสนาปัญญาขึ้นแล้วต่อเมื่อบุคคล เจริญ ปัญญาจนประจักษ์แจ้ง การเกิดขึ้นและดับไปของอารมณ์ที่กำหนดรู้อยู่ หรือเห็นความเป็น ทุกข์ไม่น่า พึงพอใจทนอยู่ไม่ได้ หรือความปราศจากตัวตนที่จะ บังคับบัญชาได้ของรูปนามต่างๆ แล้ว จึงจะเรียกได้ว่าวิปัสสนาญาณได้บังเกิดขึ้นแล้ว