แนวทางการเจริญวิปัสสนากรรมฐาน(ตอนที่๙)

พระครูปลัดประจาก สิริวณฺโณ

การปฏิบัติธรรมคือการกำหนดรู้ตามความเป็นจริง

        วันนี้เป็นวันที่ ๑๐ ของการประพฤติปฏิบัติธรรมการที่ท่านทั้งหลายได้เพียรพยายามสร้างสติ สมาธิ ปัญญา ให้เกิดขึ้นแก่ตัวเอง โดยหวังที่จะ อาศัย สติ สมาธิ ปัญญา ที่เราเพียรพยายามสร้างขึ้นนี้ สอดส่องความดูความเป็นจริงที่ปรากฏในตัวของเรา เพื่อให้รู้ตามความป็นจริงที่มีอยู่

        การปฏิบัติของเราผ่านเข้ามาถึงวันที่ ๑๐ แล้ว ซึ่งเป็นวันสุดท้าย การที่เราได้มีโอกาส มาอบรมโดยการฝึกประพฤติปฏิบัติธรรมตามนัยสติ ปัฎฐาน๔ ที่องค์สมเด็จพ่อได้ทรงตรัสไว้นี้ เป็นการสร้างสภาพของจิตใจชนิดใหม่ให้เกิดขึ้นหมายถึงเป็นจิตใจที่ปราศจากความเป็นคนเป็นสัตว์ คือในความรู้สึกที่เกิดขึ้นช่วงที่เราปฏิบัติ ช่วงที่เรากำหนด จิตนั้นเป็นจิตที่ไม่รู้สึกในอารมณ์ต่างๆ ที่เราเข้าไปกำหนดนั้นโดยความเป็น ผู้หญิง ผู้ชาย เป็นเด็ก ผู้ใหญ่ เป็นพระเถนเณรชี เป็นคนโน้นคนนี้ไม่มีและความรู้สึกใหม่นี้เป็นความรู้สึกที่ปราศ จากความเป็นเรา เป็นเขาในขณะ ที่เรา ไปกำหนดนั้นเป็นความรู้สึกที่มีสติเป็น ประธาน มีสติเป็นใหญ่ เป็นการกระทำที่ทำให้เกิดกุศลจิตตุปบาท ที่เต็มไปด้วย ความรู้สึกที่ไม่ใช่เรา ไม่ใช ่เขา ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลตัวตนเราเขาให้เกิดขึ้น ความรู้สึกอันนี้สำคัญมากมันไปคานกับความรู้สึกเก่าของเราที่เราใช้ในชีวิตประจำวันความ รู้สึก เก่าของเรา เห็นผู้หญิง ผู้ชายเห็นรถเห็นรา เห็นอะไร ต่ออะไรไปตามสมมุติบัญญัติ แล้วก็ยังยึดในการเห็นว่า เป็นเราเห็น ได้ยินก็เช่นเดียว กัน ได้ยินเสียงผู้หญิง ผู้ชาย เด็ก ผู้ใหญ่ ได้ยินเสียงหัวเราะร้องไห้ ได้ยินเสียงรถ นก กา อะไรก็แล้วแต่ เสียงต่างๆ ที่เป็นไปตามสมมุติบัญญัติ แล้ว การได้ยินก็ยังยึดถือว่าเราได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องสัมผัส คิดนึกทางใจ ก็เช่นเดียวกัน เป็นไปตามสมมุติบัญญัติ แต่การที่เรามากำหนด หนอๆ เรามาสร้างจิตชนิดที่ไม่ได้รู้สึกอย่างเดิม

        โยคีอาจสงสัยว่าการสร้างสติ ไม่เห็นมันสร้างสติตรงไหน ไม่รู้หน้าตาสติเป็นอย่างไร มันดูไม่ออกว่าตัวเองสร้างอย่างไรอันที่จริงสติเป็นธรรม ชาติที่ระลึก ได้ในกุศลกรรม เป็นธรรมฝ่ายดี แล้วเป็นเจตสิก ธรรมชาติของเจตสิกเป็นธรรมชาติที่ประกอบกับจิตอาศัยจิตเกิด หรือประกอบ ในจิต เรียกว่า เจตสิก สติตัวนี้จะเกิดขึ้นลอยๆ โดยไม่มีสิ่งอื่นหรือเกิดร่วมกับสิ่งอื่นไม่ได้ ต้องเกิดพร้อมกับจิตเสมอ ถ้าไม่มีจิตก็เกิดไม่ได้ฉะนั้น การที่เรามากำหนด เรามาตั้งสติ ไม่ใช่สติตัวเดียว ในการกำหนดนั้นมีธรรมอื่นๆ เกิดร่วมด้วย อย่างในมหากุศลจิตตุปบาทมีเจตสิกรวมแล้วตั้ง ๓๐ กว่าอย่าง ตามปริยัตินัยพูดง่ายๆ คือ ใจของเราที่เข้าไปกำหนดรู้อาการแต่ละอย่างละอย่างที่เรากำหนดว่า ขวาย่างหนอ ซ้ายย่างหนอ หรือ ยกหนอ เหยียบหนอ หรือว่ายกหนอ ย่างหนอ เหยียบหนอหรือว่าอยากยกหนอ อยากย่างหนอ อยากเหยียบหนอ ใจที่เรากำหนดนี้เรียกว่ามหากุศล จิต ที่มีสติเป็นประธาน ทุกครั้งที่เรากำหนดเราได้สิ่งนี้ เราสั่งสมสิ่งนี้ให้เกิดขึ้นไม่ว่าเราจะกำหนดพองหนอ ยุบหนอ ก็ตาม เรากำหนดเวทนาปวด หนอๆ เรากำหนดว่า คิดหนอๆ เรากำหนดว่า ได้ยินหนอๆ ก็ตาม การกำหนดนี้เป็นสิ่งที่เราได้ฉะนั้นโยคีอย่าไปคิดว่าเราไม่ได้อะไรเราได้ความรู้สึก นี้มาเพื่อประโยชน์ อะไร บางคนว่าทำตั้งนานแล้วไม่เห็นปัญญาเกิดตรงไหนเลยมันไม่ใช่ของง่ายการที่เรากำหนดรู้ตามอาการของสภาวะแต่ละ อย่าง ไม่ว่าจะกำหนดตามอาการของรูปก็ดี เวทนา จิต ธรรมก็ดี ตามอาการที่เป็นจริงนั้นปัญญาก็เกิด

 

ต้องกำหนดโดยต่อเนื่อง

        ในสัมปชัญญะบัพพะ องค์สมเด็จพ่อเคยตรัสไว้ การที่เราระลึกรู้ตามอาการที่เป็นจริงของรูปธรรม นามธรรมที่กำลังเป็นไปอยู่นั่นแหละปัญญา ก็เกิดแล้ว แต่ปัญญาชนิดนี้อยู่ๆ จะให้มันรู้อะไรทีเดียวเป็นไปไม่ได้ เราต้องเก็บเล็กผสมน้อย เหมือนเราพิมพ์ดีด เราเคาะทีหนึ่ง เราได้แค่ อักษร ตัวเดียวเท่านั้น เราต้องพิมพ์ต่อไปอีก หลายๆ ครั้งเข้า มันก็เป็นอักษรหลายตัว รวมกันเป็นรูปศัพท์หลายๆรูปศัพท์ก็เป็นประโยคหลายๆ ประโยค ก็เป็นเนื้อเรื่อง เราก็สามารถอ่านรู้ว่าอะไรเป็นอะไร ตัวอักษรที่เราพิมพ์นั้น ก็เหมือนกับที่เรากำหนดกาย เวทนา จิต ธรรม ที่เรามากำหนด แต่ละ หนอ แต่ละหนอ เราได้สติ สมาธิ ปัญญา มาแล้ว เขาเกิดขึ้นแล้ว แต่ว่าเขายังไม่สามารถจะรวมตัวกันได้ มีสาเหตุหลายๆ อย่าง เนื่องจากการที่เรา กำหนดไม่ต่อเนื่อง พอไม่ต่อเนื่องกัน อกุศลจิตก็มีโอกาสแทรกขึ้น เมื่อกุศล จิตเกิดแทรกขึ้น จิตของเราก็ไม่เป็นจิตวิสุทธิ คือ ไม่บริสุทธิ์ เพราะ ว่าการที่เรามาเจริญวิปัสสนากรรมฐาน เราใช้ ขณิกสมาธิเป็นหลัก ในบรรดาสมาธิ ๓ ประเภท คือ ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ อุปจารสมาธิ สมาธิ ที่ใกล้ต่อการที่จะได้อัปปนาฌาน หรือเป็นสมาธิเฉียดๆ ที่แปลไว้ในตำรานักธรรมโท คือเฉียดต่อการที่จะได้อัปปนาฌาน ส่วนสมาธิที่แนบแน่นติด อยู่กับอารมณ์อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหวเรียกว่าอัปปนาสมาธิ สมาธิที่ใช้กำหนดแค่ขณิกสมาธิเท่านั้นเอง กำลังของขณิกสมาธิมันน้อย ถ้าเรากำหนด ไม่ต่อเนื่องจริงๆ กำลังของมันก็ไม่มาก แต่ถ้าเรากำหนดต่อเนื่องกัน กำลังจะเท่ากับอุปจารสมาธิ มีกำลังมาก

        ท่านอุปมาเหมือนสมัยที่เราเรียนหนังสือ ป .๔บ้านที่มีลูกหลายๆ คน และชอบทะเลาะกัน พ่อเอาไม้ไผ่มาให้ ลูกคนละลำเล็กๆ หลายอันรวมกันมัด เป็นอันเดียวกัน ให้แต่ละคนหัก มันก็หักไม่ได้ ทำไมจึงหักไม่ได้ เพราะเมื่อมันรวมตัวกันเข้าแล้ว มันมีพลัง เราจะไปหักด้วยเข่าอย่างธรรมดาหัก ไม่ได้ ไม่เหมือนไม้ไผ่ทีละลำ นี้ก็เหมือนกัน ขณิกสมาธิถ้ากำหนดต่อเนื่องติดต่อกันจริงๆ แล้วมีพลังกำลังมากอกุศลจิตจะไม่มีช่อง ที่จะได้ โอกาส โผล่ขึ้นมา เมื่อไม่มีโอกาสที่จะแทรกโผล่ขึ้นมาในใจเรา จิตของเราก็เต็มไปด้วยสมาธิที่ต่อเนื่องกัน เรียกว่า จิตที่มีสมาธิ มีกำลังมีขณิกสมาธิเป็น กำลังก็ใสสะอาด เพราะคำว่าจิตตวิสุทธิ เป็นชื่อของสมาธิ เมื่อจิตใจใสสะอาดก็เป็นปัจจัยให้ทิฏฐิวิสุทธ ิทำให้นามรูปปริจเฉทญาณเกิดขึ้นสามารถ เห็นรูปเห็นนามได้ตามความเป็นจริง

 

ต้องเห็นรูปนามตามความเป็นจริง

        เมื่อใจเราสงบแล้วเราก็จะมองเห็นรูปเป็นอย่างนี้นามเป็นอย่างนี้ อุปมาเหมือนน้ำ น้ำในลำห้วยจะใสลึกอย่างไร แต่ความใสเขามีปูปลาที่อยู่ ข้าง ล่าง หรือกระเบื้องแตกที่ตกไปอยู่ข้างล่าง เราสามารถมองเห็นได้เพราะว่าน้ำมีความใสแต่ถ้าน้ำมีความขุ่นจะเห็นไม่ได้ ถึงแม้ปูปลา จะอยู่ในน้ำก็ ตาม ในจิตใจของเราก็เหมือนกัน ถ้าอกุศลยังแทรกอยู่ เรียกว่า ใจยังขุ่นอยู่ อกุศลมันเกิดอยู่ที่ใจ พอใจมันขุ่นวิปัสสนาญาณก็เกิดไม่ได้ ฉะนั้นการ กำหนดของเรา เราสร้างสติสร้างสมาธิคือใจของเราที่เข้าไปกำหนดรู้อาการตามความเป็นไปของกายและธรรม การกำหนดแต่ละครั้ง สติ สมาธิ ปัญญา เกิดขึ้นแล้ว เราได้แล้วแต่ว่ามันยังรวมตัวกันไม่ได้ ต่อเมื่อเรากำหนดได้ต่อเนื่องกันจริงๆ ติดแนบกับอาการจริงๆ อกุศลไม่มีโอกาสแทรก เราก็สามารถเห็นความจริงได้ แต่ถ้าเราไม่เข้าใจในรูปนามตามความเป็นจริง เราจะต้องเวียนเกิดเวียนตายในวัฎฎะสงสารนี้ หาที่สุดไม่ได้เพราะ เราไม่รู้ความเป็นจริงตามที่เขาเป็นจริงถึงแก่ เจ็บ ตาย เห็นเป็นเราไปหมดแก่ก็เราแก่ เจ็บก็เราเจ็บ ตายก็เราตาย มันไม่พ้นยึดถืออีกอาศัยความ เป็นเราที่เรามีความเห็นผิด พอมีเรา มีเขา มันก็มีเรื่องตราบนั้น หมดเราหมดเขาก็หมดเรื่อง ถ้าไม่มีความยึดถือว่าเราแล้วเวลาเขามาด่าเราไม่ถูก เราแล้ว เราจะโกรธไหม มันก็ไม่มี ไม่รู้จะไปโกรธใคร เขาไม่ได้ด่า ถ้าหมดความยึดถือนามรูปปริเฉทญาณเกิดเห็นจริงๆ แล้ว มันมีแต่รูปกับนาม เวลามีคนด่าก็ไม่ไปถูกใคร เพราะรูปนามมันไม่รู้เรื่อง

 

การบรรลุธรรมมีหลายระดับ

        ฉะนั้นถ้าเราเข้าถึงรูปถึงนามจริงๆ ใจเราจะไม่หวั่นไหวง่าย แต่การประหารกิเลสของเรายังไม่เด็ดขาด ถึงรู้ก็รู้รู้แล้วกลับเหมือนเดิม ท่านอุปมา ความรู้ของเราเหมือนเราเอาไม้ขีดไปบนผิวน้ำ แรงกรีดของเรา กรีดมันก็เป็นรอยขึ้นมา พอเป็นรอยแล้วหมดแรงกรีดไปแล้วมันก็เหมือนเดิม ปุถุชนเราก็เหมือนกัน เห็นรูป- นามแล้ว เมื่อไม่กี่วันก็เหมือนเดิม เช่น พระโสดาบัน เห็นรูปเห็นนามได้ชัด สามารถประหารทิฏฐิ วิจิกิจฉาได้เด็ด ขาดเลย แต่พระโสดาบันยังแต่งงาน เห็นแค่นั้นตอนนั้นมันเบื่อจริงๆ เห็นโลกหน้าโลกนี้ไม่มีอะไร มันน่าเบื่อไปหมด มันไม่น่าอยู่เลยไม่โสภาเลยใน โลกมนุษย์ ในเทวภูมิทั้งหมดล้วนไม่โสภา มันไม่มีอะไรเที่ยงเลย แล้วเราจะเอาอะไรมาเป็นของเราได้ในภพไหนๆ ไม่มีอะไรเที่ยงเลย ดูแล้วเกิด อาการเบื่อจริงๆ แต่พอหลายๆ วันเข้า มันก็เข้ารูปเดิม มันก็เหมือนเดิม คือมันเบื่อไม่จริง แต่มันเบื่อตอนนั้น มันไม่เด็ดขาด อย่างพระโสดาบัน กามราคะยังไม่สามารถจะตัดได้ โทสะ เป็นพระอนาคาแล้ว ถึงสามารถละกามราคะกับปฏิฆะได้ แต่พระโสดาบันพระสกิทาคามียังละไม่ได้ อาทิ นางวิสาขาสำเร็จเป็นพระโสดาบันอายุ ๗ ขวบ แต่แต่งงานมีลูกไม่รู้ตั้งกี่คน นายอนาถะก็เหมือนกัน แต่งงานไปแล้วค่อยสำเร็จเป็นพระโสดาบัน แต่นางวิสาขาสำเร็จเป็นพระโสดาบันก่อน แล้วถึงแต่งงานทีหลัง แต่ภพชาติของเขาแน่นอนแล้วไม่เกิน ๗ ชาติ ส่วนความไม่รู้ตามความเป็นจริง ยึดถือเป็นเรา ความรู้สึกมันฝังแน่น จมอยู่ในความรู้สึก จะให้ถอนจากความรู้สึกเป็นเรามันยากเหลือเกิน มันไม่ยอมที่จะถอน ใจของเราจมดิ่ง อยู่ในความรู้สึก เกิดมาชาติหนึ่งเป็นคนแล้วเกิดแก่เจ็บตายไป พอเราตายแล้ว มีใครรับรองว่าเราจะไม่ไปเกิดในนรก ดูพระนางมัลลิกา เป็น พระมเหสีของพระเจ้าปเสนทิโกศล ทำอสทิสะทาน คือ ทำทานแบบชนิดที่ไม่มีใคร เสมอเหมือนในพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งๆ จะมีครั้งเดียวและผู้ที่ จัดทานนั้นจะต้องเป็นผู้หญิง ผู้ชายไม่มีสิทธิ์เลยไม่ว่าพระพุทธเจ้าองค์ไหน อสทิสะทาน หมายความว่าทานที่ไม่มีใครเสมอเหมือนได้มีพร้อมทุก อย่างนางเป็นสหายในการจัดทานพระนางเรียนธรรมจากพระอานนท์จนพระอานนท์รับรองว่าพระนางเป็นผู้ที่ทรงธรรม เป็นศิษย์ที่พระอานนท ์รับรองพระนางจะเลี้ยงพระในพระราชวัง ๕๐๐ รูป เป็นประจำ แต่เวลาใกล้จะสวรรคต ไประลึกถึงที่พระนางไปโกหกพระเจ้าปเสนทิโกศลเข้า ไปนึกถึงความชั่วบางอย่างเข้า ใจของพระนางก็เศร้าหมองว่าพระองค์หลอกพระเจ้าปเสนทิโกศลหลอกได้ แต่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ ทั้งหลายที่ท่านรู้วาระจิตของพระองค์ พระองค์หลอกท่านไม่ได้ พอนึกอย่างนั้น ใจมันเศร้าหมอง พอสวรรคตแล้วไปตกนรก ๗ วัน คิดดูนะ ขนาดคนที่ทำบุญขนาดนี้ยังไปตกนรก ๗ วัน พอพระนางสวรรคตไปแล้ว พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีจิตใจเศร้าโศก ภายใน ๗ วันนั้นพระองค์ ทรงตั้งพระทัยว่าจะไปถามพระพุทธเจ้าว่าพระนางมัลลิกาสวรรคตแล้วไปเกิดที่ไหนพอเสด็จไปหาพระพุทธเจ้าทีไรพระพุทธเจ้าก็บันดาลให้ลืม ทุกทีเลย จนถึงวันที่ ๘ พระนางจุติ คือตาย เคลื่อนจากนรกไปเกิดในสวรรค์ชั้นดุสิต ทีนี้พระพุทธเจ้าไม่รอให้พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จมาตรัส ถามแล้ว พระองค์เสด็จเข้าวังไปนั่งในโรงรถเก่า ซึ่งเป็นที่ที่พระราชาจัดถวายไว้ แล้วพระราชาก็ทูลถามว่า “ พระเจ้าข้าพระนางมัลลิกาสวรรคต แล้วไปเกิดที่ไหน” พระพุทธเจ้าก็ตรัสตอบว่า “ พระนางมัลลิกาตอนนี้ไปเกิดในเทวภูมิชั้นดุสิตโน้น” พระเจ้าปเสนทิโกศลตบไม้ตบมือใหญ่ตรัส ว่า“ ถ้าคนเช่นพระนางมัลลิกาสวรรคตแล้วไม่ไปเกิดชั้นดุสิตแล้วใครจะไปเกิดตรงนั้นได้” หารู้ไม่ว่าไปชมนรกซะ ๗ วันแล้ว เพราะพระนาง พยายามขวนขวายประกอบกิจการที่เป็นกุศลประจำ คิดเสมอว่าพรุ่งนี้จะทำอะไรถวายคณะสงฆ์ดี มีจิตคิดในกุศลแต่ไปเสียท่าตรงนั้นทีเดียว เท่านั้นเองไปตกนรกเลย

 

ต้องไม่ประมาทในกรรม

        จะเห็นว่าเราไม่สามารถที่จะคำนวณหรือบอกว่าเราตายจากโลกนี้แล้ว เราจะไปเกิดที่ไหน เราไม่สามารถจะ รู้ได้ องค์สมเด็จพ่อ ทรงตรัสไว้ใน นขสิขาสูตร ในสังยุตตนิกาย อภิสมยะวรรค พระองค์ตรัสว่า เมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับอยู่ในวัดเชตวัน พระองค์เอานิ้วพระหัตถ์ นิ้วก้อย ช้อนขี้ฝุ่นขึ้นมา แล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝุ่นที่ติดปลายเล็บของตถาคตกับฝุ่นที่มีอยู่ในมหาปัฐพีอันไหนจะมากกว่ากัน
” ภิกษุทั้งหลายตอบว่า “ ฝุ่นที่อยู่ในเล็บนั้นจะไปเทียบกับฝุ่นข้างนอกว่ามันเท่านั้นเท่านี้ มันเทียบไม่ได้เพราะฝุ่นข้างนอกมีมากกว่า”องค์สมเด็จ พ่อตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การที่เราตายจากความเป็นมนุษย์แล้วจะไปเกิดเป็นมนุษย์อีก หรือตายจากมนุษย์จะไปเกิดเป็นเทวดาอีกมีน้อย เหลือเกิน เหมือนฝุ่นที่อยู่ในเล็บ เราลองคิดดูว่าที่คนล้นโลก คนกับสัตว์อะไรมากกว่ากัน ไม่ต้องดูคนอื่นไกล แค่ในสำนัก มดที่อยู่ในสำนักกับโยคี ที่มาปฏิบัติอะไรมากกว่ากัน นี่ยังไม่นับปลวก ปลวกมากกว่าอีกแล้วในนี้มีสัตว์มากมายไม่ใช่น้อยแค่ปลวกกับมด ที่อยู่ในสำนักเทียบกับคนที่อยู่ใน สันป่าตองอะไรมากกว่ากันมดปลวกต้องมากกว่าคนในสันป่าตอง ลองคิดดู สัตว์ในแต่ละบ้านที่อาศัยอยู่ มันมีมากกว่าคนที่อยู่ในบ้าน จะเห็นว่า สัตว์เดรัจฉานมีมากกว่ามนุษย์ สัตว์ที่จะไปเกิดในอบายมีมากแต่การที่จะมีโอกาสเป็นมนุษย์หรือตายจากมนุษย์มาเป็นมนุษย์ตายจากมนุษย์ไปเป็น เทวดามีน้อยเหลือเกิน องค์สมเด็จพ่อตรัสอุปมาเหมือนฝุ่นที่อยู่ในเล็บ และถ้าเกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานแล้ว โอกาสที่จะมาเกิดเป็นมนุษย์อีกก็ยากมาก ลองดูจิ้งจกหรือคางคกเวลาแมงเม่าออกมา มันกิน มันทำบุญหรือทำบาป ทำบาปเมื่อมันทำบาปอย่างนี้จะไปเกิดเป็นมนุษย์ได้หรือเปล่า ยากเหลือ เกิน ภาวะภพของเขา เขาต้องกินอย่างนั้น คางคกเห็นแมงเม่าก็ดีใจ มันอิ่มท้องของมัน แล้วเมื่อมันทำบาปโอกาสที่คางคกจะไปให้ทานรักษาศีล เจริญภาวนายากมาก มันจึงไม่มีโอกาสจะพ้นจากการเป็นคางคกนั้นได้ ลองคิดดู ถ้าเราหลงภาวะนั้น เป็นคางคกจะทำอย่างไร  ฉะนั้นพระพุทธ องค์ตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย เมื่อทราบอย่างนี้แล้ว พวกเธอทั้งหลายไม่ควรประมาท” อย่างที่ เรามาปฏิบัติอย่างนี้เราก็ไม่ควร ประมาท เรามา สร้างสติให้แก่ตัวเราเอง เราได้วิถีทางที่ถูกที่ควรแล้ว เราตั้งสติ ตั้งสมาธิให้แก่ตัวเอง ทางนี้ประเสริฐที่สุด ถ้าเรารู้ตามความเป็นจริง การที่จะไป ทำ อะไรที่มันผิด ที่มันไม่ดีก็ห้ามตัวเองได้ แม้ชีวิตของเราจะเวียนว่ายตายเกิดในวัฏฏะสงสาร มาหลายกัปป์หลายกัลป์

 

วัฏฏะสงสารยาวนานมาก

        เรื่องกัปป์ในอนมะตัคคะวรรค ปัพพตะสูตร ในสมัยนั้นองค์สมเด็จพ่อพักอยู่ที่วัดเชตวัน ภิกษุรูปหนึ่งทูลถามองค์สมเด็จพ่อว่า “ พระเจ้าข้า กัลป์ๆ หนึ่ง มันนานเท่าไรพระเจ้าข้า พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ดูก่อนภิกษุ กัลป์ๆ หนึ่งจะบอกว่านานเท่าไหร่ ร้อยปี หมื่นปี แสนปีไม่ได้มันนับไม่ได้ ้” ภิกษุทูลถามต่อว่า “ ถ้าอย่างนั้นอุปมาให้เห็นได้ไหมพระเจ้าข้า” พระพุทธเจ้าตรัสอุปมา “ เหมือนศิลาแท่งทึบ คือก้อนหินก้อนใหญ่ หนาโยชน์ หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง ยาวโยชน์หนึ่ง แล้วร้อยปีมีบุรุษเอาผ้าจากเมืองกาสี ( ผ้าจากเมืองกาสีเป็นผ้า ที่ละเอียดอ่อนมาก) เอามาปัดหินนั้นทีหนึ่ง จนหินนั้นหมดไปจนติดแผ่นดิน นี้ยังไวกว่ากัปป์หนึ่ง” ลองคิดดูขนาดก้อนหินเอามาลับมีดลับแรงๆ ยังไม่ค่อยจะกร่อนเลย แต่นี่ร้อยปีถึงเอาผ้า มาปัด แล้วเมื่อไรจะหมด มันนับไม่ได้ เราจะเห็นว่า ความยาวนานของชีวิตของเราที่เราเวียนว่ายที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ที่เราเกิดมาแล้วตายไป ไม่ใชร้อยกัปป์ พันกัปป์ หมื่นกัปป์ หรือแสนกัปป์แต่มันนับไม่ได้” อีกประการหนึ่งองค์สมเด็จพ่อทรงอุปมาเหมือนกับเมล็ดพันธุ์ผักกาดโดย อุปมาให้ฟังได้ เหมือนนครใหญ่ กว้างหนึ่งโยชน์ ยาวหนึ่งโยชน์สูงหนึ่งโยชน์แล้วเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดใส่ไว้เต็มหมดเลยแล้วทุกร้อยปีหยิบไปทิ้ง เม็ดหนึ่งเมล็ดพันธุ์ผักกาดยังหมดไปไวกว่า แต่กัปป์หนึ่งมากกว่านั้นอีก

        เราเกิดแล้วตาย ตายแล้วเกิดแต่ว่ามันไม่เบื่อหน่าย เพราะมันมีตัณหาเป็นหัวหน้านำ มันพาเราไปชมนรก บ้าง พาไปเป็นสัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต มนุษย์และเทวดาบ้าง มันพาไปชมอยู่อย่างนี้ มันไม่เบื่อหน่ายในภพชาติที่ไปอยู่เลย เรื่องเกิดก็ไม่เบื่อรู้ว่าเป็นทุกข์แต่มันรู้ไม่จริงยังพอใจ ในภพในชาติ แค่เป็นพระโสดาบัน พระสกิทาคามี ก็ยังต้องเกิดอยู่ และการเกิดครั้งแรกก็ยังมีตัณหา เข้าไปยินดี พอใจในภพในชาติอยู่ เรียกว่า ชวนะแรก เป็นภวนิกันติกะโลภะชวนะ หมายความว่าตัณหาที่ไปยินดีพอใจในภพในชาติที่ตัวเองเกิดอยู่การที่จะเกิดมาเป็นมนุษย์มันยากในสูตรๆ หนึ่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า “ เหมือนเต่าตาบอดที่อยู่ในทะเล ทะเลนั้นเราจะวัดความกว้างเท่านั้นศอก เท่านี้วาไม่ได้เลย” เต่าตาบอดนี้ ร้อยปีโผล่มาครั้งหนึ่ง แล้วเราก็เอาแผ่นกระดานนี้เจาะรูไว้ ปล่อยไปตามน้ำทะเล เมื่อเต่าตาบอดโผล่ขึ้นมาถ้าเอาหัวสวมในกระดานที่เราเจาะลอง คิดดูซิยากไหม ตาก็บอด ทะเลก็กว้างอีก แผ่นกระดานไม่รู้มันลอยไปถึงไหน แล้วร้อยปีจะโผล่ขึ้นมาที มันไม่ใช่ง่ายแต่การที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย ์ ์ยากกว่านั้น” แต่เราก็ยัประมาทกัน ไม่ได้คิดถึงเรื่องนั้นเลย บางทีอาศัยขันธ์ที่เราเกิดมาได้โอกาสจังหวะไปประกอบกรรมที่ไม่ดีต่างๆไว้อีกบางคน ที่มีอำนาจบาทใหญ่ไปโกงเขาบ้าง ไปด่าเขา ไปฆ่าเขา ไปตีเขาบ้าง เราอาศัยขันธ์นี้ไปทำสิ่งไม่ดีก็ได้ ทำสิ่งที่ดีก็ได้ แต่ถ้าเราไปหลงทำสิ่งที่ไม่ดีอาจ จะไปลงนรก หรือเกิดเป็นอะไรต่ออะไรอีกเพราะความไม่เข้าใจ ความยึดในตัวเอง แต่ถ้าเราเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริงแล้ว โอกาสที่เรา จะไปสร้างกรรมชนิดนั้นมันก็น้อยลง

        ฉะนั้นเราต้องรู้ว่าสิ่งที่ที่จะเป็นเครื่องยุให้เราไปทำบาปหรือทำกุศลมันมีอยู่ โลภะ โทสะ โมหะก็มี อกุศลก็ มี พอมันได้โอกาสได้จังหวะออกเดี๋ยว ก็ออกมาเป็น แถวอีก พรุ่งนี้ไม่รู้กิเลสตัวไหนมันจะไชโยออกมา มันได้อิสระแล้ว กิเลสมันพร้อมเสมอ มันครอบงำเป็นประจำฉะนั้นถ้าเรา ประมาท แล้วไม่ทันมัน กำหนดไม่ทัน ทำให้ด่าบ้าง ไปตีเขาบ้าง ตัวเหตุมีอยู่ ฉะนั้นโยคีได้โอกาสดีอย่างนี้ เรารู้ว่าที่มาที่ไปของอกุศลที่แท้มันก็อยู่ตรงนี้เอง เวลามันเกิดขึ้นมา เราก็ระงับตรงนี้ เราได้โอกาส มาศึกษาหาความจริงที่เป็นอยู่อย่างนี้ พอออกไปข้างนอกมีกิเลส อะไรที่โผล่มาเราก็อาจสามารถ ระงับได้

 

ชีวิตมนุษย์ไม่ยืนนาน

        ชีวิตของเรามันไม่ยั่งยืนชีวิตของมนุษย์มันน้อยเหลือเกิน องค์สมเด็จพ่อท่านทรงตรัสไว้ในธรรมบท จิตตวรรค พระพุทธองค์ ทรงปรารภ เรื่องของ พระปูติคัตตะติสสะเถระ ว่า เมื่อก่อนพระปูติคัตตะติสสเถระเป็นชาวเมืองสาวัตถี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าแล้วก็เลื่อมใส ออกบวช มาในศาสนาด้วยความศรัทธา บวชนานเข้า วันหนึ่งท่านเกิดโรคขึ้นมา เกิดเป็นตุ่ม ทีแรกก็เท่ากับเมล็ดพันธุ์ผักกาดเป็นผื่นเต็มตัว นานๆ เข้าโต เท่าเมล็ดถั่ว จนในที่สุดขนาดเท่าผลมะตูม เสร็จแล้วมันก็แตก ตัวของท่านเป็นเสมือนร่างแห กระดูกก็แตก เนื้อก็เป็นรูเป็นโพรงไปหมดท่านได้ รับความทุกข์ทรมานมาก เหม็นไปทั้งตัว ลูกศิษย์ลูกหาที่อุปัฎฐากก็หนีกันหมด ทนกลิ่นเหม็นของท่านไม่ได้ ตายก็ไม่ตาย เน่าอยู่อย่างนั้นจะตาย แหล่มิตายแหล่อยู่อย่างนั้น เย็นวันหนึ่งองค์สมเด็จพ่อทรงส่งข่าย พระญาณออกไป คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระองค์จะส่ง ข่ายพระญาณตรวจดูโลก ๒ เวลา เวลาเช้ากับเวลาเย็น เวลาเช้าพระองค์จะส่งข่ายพระญาณจากขอบจักรวาลเข้ามาหากุฎิเวลาเย็นพระองค์จะส่ง ข่ายพระญาณของพระองค์จากพระคันธกุฏีไปถึงขอบจักรวาล พอพระองค์ส่งข่ายพระญาณไปพระปูติคัตตะติสสะก็มาปรากฎอยู่ในข่าย พระญาณ พระองค์รู้ทันทีว่า พระปูติคัตตะติสสะผู้มีกายเน่าถูกลูกศิษย์ละทิ้งหมด นอนแผ่จะตายแหล่มิตายแหล่อยู่ ถ้าพระองค์ไม่ไปช่วยพระปูติคัตตะตัสสะ ก็หมดที่พึ่ง พระองค์ก็เลยเสด็จทำทีไปตรวจดูวิหารเดินไปตามลำดับ ก็เข้าโรงครัวจุดไฟทำอะไรเองต้มน้ำ พระองค์ก็จะไปยกเตียงของ พระติส สะมา พอดีภิกษุทั้งหลายเห็นก็บอกว่า “ พระเจ้าข้า พระองค์อย่าทำเลย ข้าพระองค์ทั้งหลายจะไปหามเอง” ภิกษุทั้งหลายพากันหามเตียง เข้าไป พระพุทธเจ้าก็ดึงจีวรออก เสร็จแล้วก็เอาจีวรของพระติสสะไปขยำๆกับน้ำเสร็จแล้วก็เอาไปผึ่ง แล้วพระองค์ก็เอาน้ำร้อนผสมน้ำเย็นให้มันอุ่นๆ แล้วก็ราดเช็ดด้วยพระองค์เอง โดยไม่รังเกียจ พอทำเสร็จแล้วก็เอาผ้าที่ไปผึ่งแห้งแล้วกลับมาห่มให้อาบน้ำเสร็จแล้วกายก็เบาจิตใจแน่วแน่ขึ้น มา องค์สมเด็จพ่อพระองค์ก็เทศน์ว่า

“ อจิรํ วตยํ กาโย, ปถวี อธิเสสฺสติ.
ฉุทฺโท อเปตวิญญาโน, นิรตฺถํว กลิงฺครํ.”

        
        แต่พระเราใช้บังสุกุลเป็นว่า อนิจจา วตะสังขารา ส่วนบังสุกุลตาย ต้องให้ตายก่อน อนิจจา วตะสังขารา เสร็จแล้วก็กลับผ้า มากลับหัวกลับท้าย อจิรัง วตะยัง กาโย คำว่า อจิรัง วตะ หมายความว่า ไม่นานแล้วหนอ อยังกาโย ท่านบอกว่ากายนี้ไม่นานแล้วหนอ ปะถะวิง อธิเสสสติ ย่อมนอน ทับถมซึ่งแผ่นดิน ฉุทฺโท อันเขาทิ้งแล้ว อเปตวิญญาโณ มีวิญญาณไปปราศแล้ว คือไม่มีใจ หมายความว่าจิตมันดับไปแล้ว พูดง่ายๆ ตายไปแล้ว นิรัตถัง วะกลิงคะรัง ท่านบอกว่า อุปมาเหมือนท่อนไม้ที่ไร ้ ้ประโยชน์ เขาทิ้งไว้ในป่า ฉะนั้นร่างกายของเรา มันอยู่ไม่นานจริงๆ เราเอาแน่ไม่ได้ เราจะบอกให้รู้ว่าเราจะตายวันนั้นวันนี้ จะตายวัยนั้นวัยนี้ บอกไม่ได้ บางทีคน หนุ่มลัดคิวคนแก่ไป บางทีพ่อแม่ยังอยู่ ลูกตายหมดไม่เหลือเลย อย่างนี้ ยิ่งสมัยนี้มีโรคพิเศษหลายโรค เราจะเห็นว่าเรื่องโรคเรากำหนดไม่ได้ เราจะตายด้วยโรคอะไร จะตายวันไหน จะตายกลางวัน หรือจะตาย กลางคืน จะตายตอนเช้าจะตายตอนเย็น เรารู้ไม่ได้ วัยไหนเราก็รู้ไม่ได้ ฉะนั้นชีวิตของเรานี่มันไม่แน่จริงๆ ไม่นานแล้ว ร่างกายเราจะนอนทับถม ซึ่งแผ่นดิน อันบุคคลเขาทิ้งแล้ว เราจะรักกันขนาดไหน อย่างพ่อแม่ของเรา เราจะนับถือบูชาขนาดไหน เวลาตายไปแล้ว เราก็ไม่ให้ท่านนอน อยู่ ในห้องเดิม ห้องที่ติดแอร์ห้องดีๆ ที่ท่านสร้างไว้ ไม่มีสิทธิ์อยู่แล้ว เอาไปใส่โลง เสร็จแล้วผูกไม้ผูกมือกลัวจะลุกขึ้นมาอีก คิดแล้วน่าสังเวชเขารัก เราแบบไหนไม่รู้ พอเราตายปุ๊ป แถมยังกลัวผีเราอีก เขาก็เอาไปฝากไว้วัด และส่วนใหญ่จะเผา เอาศพไว้ไม่กี่วัน เราจะ เห็นว่าร่างกาย ของเราจะ ต้องมีสภาพอย่างนี้ พอวิญญาณ ปราศจากไปแล้ว เขาไม่เอาเราไว้แล้ว จะรักใคร่อย่างไรก็ไม่มีทางที่เอาเราไว้ ก็เอาเราไปทิ้งไปเผา

        ในสมัยโบราณประเทศอินเดียเขาเอาไปให้แร้งกินบ้าง อีกากินบ้าง เขาจะมีที่วางไว้ศพ เอาไปไว้ตรงนั้นเขาไม่เผาให้เป็นอาหารของนกอีแร้งอีกา ไป ไม่มี ีประโยชน์อย่างอื่นแล้ว แต่ว่าพวกสัตว์ที่เขาตายไปแล้ว เนื้อหนังมังสายังกินได้ แต่ถ้าเป็นธาตุของพระอรหันต์ทั้งหลายก็ใช้ ประโยชน์ได้ อยู่ พอองค์สมเด็จพ่อทรงตรัส อย่างนี้แล้ว พระปูติคัตตะติสสะเถระก็สำเร็จเป็นพระอรหันต์เลยได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์พร้อมปฏิสัมภิทา แล้ว ก็ปรินิพพานพระพุทธ เจ้าก็ให้ภิกษุทั้งหลายเผา ทำฌาปนกิจ เสร็จแล้วก็ให้เอากระดูกของท่านไปฝังในทางสี่แพ่งเพื่อให้คนทั้งหลายได้สักการะ บูชา

 

กฎแห่งกรรม

        ภิกษุทั้งหลายทำตามที่องค์สมเด็จพ่อสั่งงาน เสร็จแล้วก็กราบทูลว่า “ พระติสสะตายแล้วไปเกิดที่ไหน” พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ ภิกษุทั้งหลาย ติสสะปรินิพพาน ไปแล้ว” ภิกษุทั้งหลายก็อัศจรรย์ใจว่า คนที่มีอุปนิสัยเป็นพระอรหันต์ยังต้องทนทุกข์ทรมานมีร่างกายแตกเน่าถึงขนาดนี้เชียว หรือ ท่านก็เลยทูลถามพระพุทธเจ้าว่า “พระติสสะที่ท่านได้เป็นพระอรหันต์ด้วยอำนาจของกุศลธรรมอันใดแล้วกายของท่านเน่า ด้วยอกุศลกรรม อันใด”พระพุทธเจ้า ก็เลยตรัสเล่าอดีตชาติของพระติสสะว่า ในสมัยพระกัสสปะสัมมาสัมพุทธเจ้า พระติสสะองค์นี้เป็นพรานนกไปดักนก จับนก ได้มามาก ก็เอามาขายให้คนในเมือง พอขายไม่หมด กลับมาถึงบ้านก็หักปีก หักแข้งหักขา แล้วก็เอาไปกองๆ ไว้ นกก็ทรมานมากตายก็ไม่ตายอาจ สงสัยว่าคนที่เขาทำบาปอย่างนั้น เขาไม่คิดสะดุ้งหรือ เราไปดูแม่ค้าที่เขาขายปลาเขาทุบหัวปลา ดิ้นกระแด่วๆ หัวเราะชอบอกชอบใจกันไปมือ เขาก็ ็ทุบไปเขาไม่เคยคิดหวาดหวั่นอะไรแต่เราเห็นมันเสียวสันหลังเหลือเกินดูแล้วมันน่ากลัวไม่กล้าที่จะไปทำอย่างนั้นแต่เขาทำด้วยความสนิทใจไม่คิด ว่าสิ่งนั้นมันเป็นบาป เพราะมันเป็นอาชีพ เป็นสิ่งที่เขาทำประจำ เป็นอาจิณณกรรมของเขา เขาก็ไม่ได้คิดอย่างอื่น อย่างพระติสสะ ก็เหมือนกัน นกที่ถูกหักปีก หักกระดูก หักแข้งหักขามากองๆไว้นกมันก็ทรมานบางตัวทนพิษบาดแผลไม่ไหวก็ตายบ้างบางตัวก็เน่าบ้างแล้ววันหนึ่งพระติสสะ ตอนที่เป็นพรานนก ภรรยาเขาก็ปิ้งเนื้อทำอาหารกับข้าวไว้ให้เขา มีข้าว มีเนื้อนกที่เขาหามาได้อาหารพร้อมข้าวพร้อมลงมือจะทานอาหารอยู่แล้ว พอดีพระอรหันต์ องค์หนึ่งท่านเสด็จมาบิณฑบาต มายืนอยู่ตรงประตูบ้าน พรานนกก็ดีใจใหญ่ คิดว่าเมื่อก่อนเรามีภัตตาหาร แต่พระก็ไม่มาบาง ทีพระมาแต่ภัตตาหารของเราก็ไม่มี ตอนนี้พระก็มา อาหารก็มี ได้จังหวะเลย เราอย่าเพิ่งทานเลย ก็รีบไปเอาบาตรของพระท่านมา เสร็จแล้วก ็ ็เกลี่ยอาหารที่ตัวเองจะทานมื้อเช้าใส่บาตรพระให้เต็มเลย ใส่เสร็จแล้วก็เอาไปยกถวายท่าน แล้วก็อธิษฐานว่า ขอให้ข้าพเจ้ามีส่วนแห่งธรรมที่ ท่านได้บรรลุแล้ว หมายความว่าท่านได้บรรลุธรรมอะไร ได้สำเร็จธรรมอะไร ก็ขอให้กระผมได้สำเร็จในธรรมนั้นด้วย พระท่านก็บอกว่า “ เอวัง โหตุ จงเป็นอย่างนั้นเถอะอุบาสก” นี่แหละอุปนิสัยเป็นพระอรหันต์ของพระติสสะก็เนื่องมาจาก ถวายอาหารบิณฑบาตแก่พระอรหันต์แล้วที่ พระติสสะมีร่างกายแตกเป็นอย่างนี้ก็เพราะอาศัยกรรมที่ทำกับนก เนื่องจากเราอาศัยอัตภาพนี้ ต้องการให้ตัวเองดี แต่ไปแสวงหาสิ่งประกอบ ชีวิตที่เป็นเครื่องดำเนินชีวิตของตนเองให้มีความสุข โดยไปฆ่าสัตว์ โดยที่ตัวเองคิดว่าดี บางคนก็ไปปล้นคนอื่นเขา คิดว่าเป็นการ กระทำดีแล้ว รวยทางลัดดี บางคนก็ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต บางคนก็ตั้งโรงงานฆ่าสัตว์ฆ่าไก่ ในโรงงานที่เขาทำ ไก่ที่มันถูกแขวนเป็นแถวน่าสงสาร ใจหนึ่งก็สงสาร ใจหนึ่งก็คิดว่าเนื้อเขาอร่อย เหมือนที่อยู่พม่า เวลาเขาจะเอาหมูไปฆ่า มันต้องผ่านหน้าวัดไป หมูมันก็ร้อง เณรองค์หนึ่งก็พูดว่า“ ได้ยินเสียงมัน น่าสงสารเหลือเกิน แต่ว่าเนื้อมันก็อร่อยดี” ให้เราเข้าใจว่า ที่เราประกอบกรรมดีก็ตาม ไม่ดีก็ตาม ที่เป็นไปอยู่ ที่เรามองเห็นความจริงของสิ่ง ที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงแล้ว เราจะไม่หลงทำกรรมที่ไม่ดีต่อไปอีก และปฏิบัติให้ถึงพระอริยบุคคลจริงๆ แต่การที่จะให้เข้าถึงอริยบุคคลจริงๆ เราต้องเพียรพยายามกำหนดจริงๆ เราดูแล้วมันเป็นของง่าย ทำแล้วไม่เห็นมันยากตรงไหน แต่พอให้ตามกำหนดดูแค่ 10 วันเท่านั้น โอ้โหมัน ยากเหลือเกิน เราเองก็ตั้งใจสละมาแล้ว กิจการอะไรต่างๆ มาตรงนี้ เราขอทำหน้าที่ตรงนี้ให้สำเร็จ มาตามดู แต่มันยังดูไม่เต็มที่เลย เพราะเป็น สิ่งทวนกระแสกิเลส เนื่องจากเราเคยตามใจตัวเองมานาน ทำอะไรเหมือน กับคนเจ็บหนัก เหมือนคนไม่มีกำลัง มันไม่ทันใจกิเลสมันอึดอัดไม่เคย เป็นอย่างนี้ จะตื่น แทนที่จะลุกได้เลย ต้องตื่นหนอๆ ลุกก็ยังไม่ทันลุก จะลืมตาก็ต้องกำหนด อยากลุกหนอๆ กว่าจะเป็นได้แต่ละอย่างๆ มันอึดอัด ไม่ใช่ง่ายๆ ถึงยากอย่างไร แต่เราตั้งใจมาทำอย่างนี้ เราอุตส่าห์ทิ้งอะไรต่ออะไรมา มาถึงจริงๆ กลับจะถอย สู้ไม่ได้ เพราะใจของเรามันเป็นอย่าง นั้นเอง การที่เราจะทนกระแสของกิเลสมันไม่ใช่ง่ายๆ คืนนี้จนถึงพรุ่งนี้ยังมีโอกาสอยู่การปฏิบัติวันสุดท้ายก็มีการเชื้อเชิญเป็นพิเศษใครจะปฏิบัติ โต้รุ่งเป็นพุทธบูชาก็เชิญ โยคีบางคนปฏิบัติมาหลายๆ วันไม่ค่อยได้อะไร ยังไม่ค่อยได้เต็มที่เพราะอกุศลมันตอดเอาไปตรงนี้หน่อยตรงโน้นหน่อย วันสุดท้ายโต้รุ่งได้ขึ้นมาเลย อยู่ถึง ๕ ทุ่ม ๖ ทุ่มก็อยู่ไป ไม่เป็นไร อยู่ถึงตี ๑ ตี ๒ ได้ก็อยู่ไป เอาตามกำลังที่จะทำได้.