| home | พุดตานกถา | แก้ปัญหาได้ก็หายเครียด | แบบประเมินความเครียด | ปรากฎการณ์มหัศจรรย ์| ผู้รู้แห่งธิเบต |
| พระพุทธศาสนา (ตอนที่๒๑) | สมาธิเพื่อสุขภาพ | แนวทางเจริญวิปัสสนา | ธรรมะในมิลินทปัญหา | รายนามผู้บริจาค |

 


 
 

 

๑ . สมาธิคืออะไร ?    

            สมาธิแปลว่า ความสงบใจ สมาธิภาวนาแปลว่าการทำใจให้สงบ บางที เรียกว่าสมถภาวนา มีความหมายอย่างเดียวกัน

๒ . สมาธิมีประโยชน์อย่างไร ?

            สมาธิมีประโยชน์ดังต่อไปนี้ : -

๒ . ๑ ทำให้มีจิตใจหนักแน่นมั่นคง พร้อมที่จะเผชิญกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างดี

๒ . ๒ ทำให้มีสติดี ระลึกได้ รู้เท่าทัน ไม่ค่อยหลงลืม

๒ . ๓ ทำให้รู้ทันและระงับอารมณ์ฝ่ายลบได้ เช่น ความโกรธ เป็นต้น

๒ . ๔ เวลาทำงานใด ๆ จะเอาใจจดจ่ออยู่กับงานได้ดีขึ้นทำให้งานมีประสิทธิภาพ

๒ . ๕ เมื่อจะคิด ก็คิดได้ดีขึ้น มีระบบระเบียบทางความคิด

๒ . ๖ เมื่อจะจำก็จำได้ดีขึ้น

๒ . ๗ เวลาติดขัดในปัญหาบางอย่าง เมื่อทำจิตให้เป็นสมาธิแล้วก็จะพบคำตอบเอง

๒ . ๘ ทำให้จิตใจมีความสงบสุขขึ้น

๒ . ๙ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพดีขึ้น

๒ . ๑๐ ถ้าทำถึงสมาธิขั้นสูงและมีความชำนิชำนาญแล้ว พลังจิตพิเศษบางอย่างจะได้รับการพัฒนาสามารถทำอะไรได้ผิดจาก
คนธรรมดา เช่น การมีหูทิพย์ ตาทิพย์ เป็นต้น

๓ . จิตทำงานอย่างไร ในชีวิตประจำวัน ?

            เมื่อเราตื่นจากหลับ จิตของเราจะตื่นขึ้นมาเผชิญกับอารมณ์ต่าง ๆ ( คำว่า อารมณ์ในทางพุทธศาสนาหมายถึงสิ่งที่จิตรับรู้ ) คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และมโนภาพ โดยผ่าน ตา หู จมูก ลิ้น กาย มโน หรือใจ เมื่อเผชิญกับอารมณ์ต่าง ๆ จิตจะทำงานเป็น ๔ ขั้นตอนตามลำดับคือ

๑ ) รับรู้ว่าเป็นอารมณ์อะไร ( วิญญาณ – consciousness) เช่น ตาเห็นรูป รับรู้ว่าเป็นรูป หูได้ยินเสียงรับรู้ว่าเป็นเสียง เป็นต้น

๒ ) รู้จักรู้อารมณ์นั้น ๆ คืออะไร มีรายละเอียดอย่างไร มีลักษณะ เป็นการจำได้ ( สัญญา – perception) เพราะเคยประสบมาแล้ว

๓ ) รู้สึกดีใจ เสียใจหรือกลาง ๆ ต่ออารมณ์นั้น ๆ ( เวทนา – feeling)

๔ ) เกิดความต้องการ ความตั้งใจและการคิดเกี่ยวกับอารมณ์นั้น ๆ ( สังขาร – desire หรือ thought – formation)

            พฤติกรรมของจิตทั้ง ๔ นี้จะเกิดขึ้นทุกครั้งที่เราเผชิญกับอารมณ์ และ ดำเนินไปตลอดเวลา จนกว่าเราจะหลับสนิทจึงจะระงับไป เพราะฉะนั้น จิตใจของคน โดยเฉลี่ยจึงวุ่นวายอยู่แทบตลอดเวลา หาความสงบสุขจริง ๆ ได้ยาก นอกจาก ผู้ที่รู้จักสงบจิตสงบใจโดยวิธีสมาธิเท่านั้น จึงจะสงบสุข อยู่ได้ท่ามกลางอารมณ์ต่าง ๆ

๔ . จิตมนุษย์มีโครงสร้างอย่างไร ?

            จิตของมนุษย์แบ่งออกได้เป็น ๓ ระดับ ดังนี้ :-

            ๑ . ภวังคจิต (The Unconscious) หมายถึง จิตที่ไม่รับรู้อารมณ ์ใด ๆ เลย ไม่ทำงานใด ๆ ไม่มีพฤติกรรมทั้ง ๔ ตามที่กล่าวไว้ในข้อ ๓ ทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว คือ การรักษากระแสชีวิตไว้มิให้ดับสูญ เปรียบเหมือนเปลวไฟตะเกียงที่หรี่ลงจน เหลือเป็นจุดสีฟ้าเล็ก ๆ อยู่บนไส้ตะเกียง แต่ยังไม่ดับ พร้อมที่จะลุกโพลงขึ้นมาทุกเมื่อ 0  

            ภวังคจิต ได้แก่ จิตตอนเรานอนหลับสนิทโดยไม่ฝัน ตอนสลบ ตอนตาย และตอนอยู่ในครรภ์มารดา

        ๒ . มโนทวารวิถีจิต ( คล้าย ๆ กับ จิตกึ่งสำนึกหรือ Subconscious mind) ได้แก่จิตที่ตื่นขึ้นมาแล้ว แต่รับรู้แต่เพียงมโนภาพทาง มโนทวารที่เรียกว่า ธัมมารมณ์เท่านั้น ไม่ออกมารับรู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย

            จิตกึ่งสำนึกมี ๓ ระดับ คือ

๒ . ๑ จิตลอย หรือใจลอย จิตรับรู้มโนภาพต่าง ๆ ที่ปรากฏขึ้นมาทาง มโนทวารอย่างเดียว แม้จะลืมตาอยู่ก็มองอะไรไม่เห็น หูก็ฟังอะไรไม่ได้ยิน ไม่มีสติควบคุมความคิด ไม่มีสัมปชัญญะรู้ตัว แต่จิตมีพฤติกรรมทั้ง ๔ ครบ คือ รับรู้ รู้จัก รู้สึก และรู้อยาก

๒ . ๒ จิตเป็นสมาธิ หมายถึง จิตที่รับรู้อารมณ์อันเดียวทางมโนทวาร มีสติควบคุมความคิดได้ พฤติกรรมทางจิตเหลือเพียง ๑ คือ รับรู้ เท่านั้น ไม่ได้รู้จัก รู้สึกและรู้อยาก

สมาธิจิตก็มีหลายระดับ ดังจักกล่าวข้างหน้า
๒ . ๓ . จิตฝัน จิตรับรู้อารมณ์หลายหลากทางมโนทวารแท้ ๆ ไม่มีสติ ควบคุม ไม่รู้ตัว จิตทำพฤติกรรมครบทั้ง ๔

         ๓ . ปัญจทวารวิถีจิต (The Conscious) หมายถึง จิตในขณะที่เรากำลังตื่นอยู่ เป็นปกติ ในขั้นนี้ จิตรับรู้อารมณ์ทั้ง ๕ ทางทวารทั้ง ๕ คือ

รูปอารมณ์ ( รูป )  
ทาง
  ตา
สัททารมณ์ ( เสียง )  
ทาง
  หู
คันธารมณ์ ( กลิ่น )  
ทาง
  จมูก
รสารมณ์ ( รส )  
ทาง
  ลิ้น
โผฏฐัพพารมณ์ ( สัมผัส )  
ทาง
  กาย

            เมื่อรับรู้แล้ว จิตก็ทำงานตามสายของมันต่อไปคือ รู้จัก ( สัญญา ) รู้สึก ( เวทนา ) แล้วก็รู้อยาก ( สังขาร ) ในระดับนี้จิตมีลักษณะวุ่นวาย แต่ก็ยังพอมีสติควบคุมได้ ถ้าทำสมาธิบ่อย ๆ จนมีสติเข้มแข็ง จะสามารถเลือกสรรอารมณ์และควบคุม พฤติกรรมของจิตได้อย่างสบาย

            เพื่อจะได้เข้าใจโครงสร้างของจิตได้ดีขึ้น โปรดดูแผนผังภูมิต่อไปนี้

ชั้นของจิต

ชนิดของจิต
อารมณ์ ๖
ทวาร ๖
พฤติกรรม ๔
สติ
ปัญจทวาร
วิถีจิต
ขณะตื่นเต็มที่
รับรู้อารมณ์
ทั้ง ๕
ทางทวาร
ครบทั้ง ๖
มีพฤติกรรม
ครบ ๔
มีสติ
มโนทวาร
วิถีจิต
๑. ใจลอย
รับอารมณ์
หลายอย่าง
มโนทวาร
เป็นส่วนมาก
พฤติกรรม
ครบ ๔
ไม่มีสติ
๒. จิตสมาธิ
รับอารมณ์
หลายอย่าง
มโนทวาร
พฤติกรรม
ครบ ๔
มีสติ
๓. จิตฝัน
รับอารมณ์
หลายอย่าง
มโนทวาร
อย่างเดียว
พฤติกรรม
ครบ ๔
ไม่มีสติ
ภวังคจิต
ขณะหลับโดย
ไม่ฝัน สลบ ตาย
ไม่รับอารมณ์
ใด ๆ
ไม่ใช่ทวาร
ใด ๆ
ไม่มีพฤติกรรม
ใด ๆ
ไม่มีสติ

๕ . สมาธิมีหลักการอย่างไร ?

            หลักการของสมาธิคือ

๕ . ๑ . เอาสติ ( ความตื่นตัว ไม่หลับ ไม่เผลอ ) และวิญญาณ ( การรับรู้ ) ไปรับรู้ อารมณ์เพียงอย่างเดียว ในมโนทวาร ( ไม่ใช่ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย )

๕ . ๒ . พยายามให้จิตรับรู้อารมณ์อย่างเดียว ให้มีพฤติกรรมอย่างเดียว อย่าให้ เกิดการรู้จัก ( สัญญา ) อย่าให้เกิดความรู้สึก ( เวทนา ) และอย่าให้เกิดความรู้อยาก ( สังขาร )

๖ . อารมณ์สำหรับเอามาเป็นหลักให้สติยึดเพื่อทำสมาธิ มีอะไรบ้าง ?

            อารมณ์ที่นิยมใช้เป็นหลักให้จิตยึด มี ๔ ประการคือ

๖ . ๑ รูปที่เห็นด้วยตา ที่มีลักษณะง่าย ๆ ไม่มีรายละเอียดมาก เช่น ลูกแก้ว วงกลมสีขาว ดอกบัวตูม เปลวเทียนไข เป็นต้น ( รูปที่ทำขึ้น โดยเฉพาะเพื่อใช้เพ่ง ท่านเรียกกว่า กสิณ ) ห้ามใช้รูปที่มีความหมายพิเศษสำหรับตน เช่น รูปคนรัก หรือรูปศัตรู เพราะรูปประเภทนี้ จะกระตุ้นให้เกิดความรู้จัก รู้สึกและรู้อยาก
๖ . ๒ เสียง ที่ไม่มีความหมาย ( เช่นคำภาษาต่างประเทศ ) หรือที่เกี่ยวข้อง กับศาสนา ชาวพุทธนิยมใช้คำเกี่ยวกับศาสนา เช่น

พุทโธ

ธัมโม

สังโฆ

พุทโธ ธัมโม สังโฆ

สัมมา อรหัง เป็นต้น

( กลิ่นและรสไม่นิยมใช้ เพราะไม่แน่นอน ควบคุมยากและก่อให้เกิดความ วุ่นวาย )
๖ . ๓ สัมผัสทางกาย เช่น การนับลูกประคำ
๖ . ๔ ลมหายใจเข้าออก ( อานาปานะ )

๗ . ก่อนการทำสมาธิควรมีการเตรียมการอย่างไรบ้าง ?

            ควรมีการเตรียมการดังต่อไปนี้ :-

๗ . ๑ ควรเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ไม่มีเสียงรบกวน ไม่พลุกพล่าน
๗ . ๒ ควรเลือกเวลาที่เหมาะสม ที่ไม่มีเสียงรบกวนและผู้คนไม่พลุกพล่าน เช่น เวลาดึกสงัดหรือเช้ามืด
๗ . ๓ ควรมีกัลยาณมิตร คือ เพื่อนที่เข้าใจกัน ให้โอกาสแก่กันไม่รบกวน ไม่กลั่นแกล้งเวลาทำสมาธิ
๗ . ๔ ควรมีร่างกายปกติ ไม่เจ็บป่วย ไม่หิวจัด อิ่มจัด เหนื่อยจัด
๗ . ๕ ควรมีจิตใจปกติ ไม่มีปัญหาหนักทางจิตใจ
๗ . ๖ ควรอยู่ใกล้ท่านผู้มีความรู้และประสบการณ์ทางสมาธิสูงเพื่อคอย แนะนำเมื่อมีปัญหา

๘ . ท่าทางในการทำสมาธิควรเป็นท่าอะไร ?

            เราอาจทำสมาธิได้ในอิริยาบถต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ :-

๘ . ๑ ท่านั่ง เป็นท่าที่เหมาะที่สุด ท่านั่งที่แพร่หลายคือนั่งสมาธิ เอาเท้าขวา วางไว้บนเท้าซ้าย เอามือขวาวางทับบนมือซ้ายวางไว้บนตัก
( โปรดดูพระพุทธรูป ปางสมาธิ ) ถ้าไม่ถนัดจะนั่งบนเก้าอี้หย่อนเท้าทั้ง ๒ ลงก็ได้
๘ . ๒ ท่ายืน อาจใช้ได้เป็นครั้งคราวในการเปลี่ยนอิริยาบถ
๘ . ๓ ท่าเดิน ( เรียกว่า เดินจงกรม ) คือ เดินกลับไปกลับมาระหว่างจุด ๒ จุด จะเดินเร็วหรือช้าก็ได้ จะเอามือกุมกันไว้ด้านหน้า หรือไพล่ หลังก็ได้ ขณะเดินให้ลืมตา แต่ให้มองเฉพาะทางเดินไม่สอดส่ายตาไปที่อื่น
๘ . ๔ ท่านอน ห้ามใช้ในระยะเริ่มแรก เพราะจิตจะตกสู่ภวังคจิต ( หลับ ) ง่ายเกินไป แต่ถ้าชำนาญแล้ว จะนอนทำสมาธิก็ได้

๙ . โปรดแนะวิธีทำสมาธิสัก ๑ วิธี

            จะขอแนะนำวิธีกำหนดลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสมสำหรับทุกคน
            เมื่อทุกสิ่งทุกอย่างพร้อมแล้ว ให้นั่งลงในท่าที่เหมาะ ตั้งลำตัวให้ตรง ตั้งใบหน้าและคอให้ตรง จัดท่านั่งและส่วนต่าง ๆ ของกายให้เข้าที่ เข้า ทาง อย่าให้มีจุดใดเกิดอาการขัดข้อง เคร่งตึง เจ็บปวด

             อันดับต่อไปให้หลับตาลง หลับเบา ๆ อย่าให้เป็นการบีบเปลือกตา ( อาจจะลืมตานิด ๆ ก็ได้ แต่ควรหันหน้าเข้ามองฝาผนังเรียบ ๆ )

             อันดับต่อไป ให้หายใจเข้าลึก ๆ แล้วกลั้นหายใจไว้ครู่หนึ่งพร้อมกับนับ ๑ ในใจ หายใจออกยาว ๆ หยุดไว้ครู่หนึ่งพร้อมกับนับ ๒ ในใจ ( การ หายใจเข้ายาว ๆ ทำให้ปอดได้รับออกซิเจนอย่างเต็มที่ ทำให้โลหิตบริสุทธิ์ สุขภาพดี หน้าตาผ่องใส การหายใจออกยาว ๆ เป็นการขับแก๊ส คาร์บอนไดออกไซด์ที่มีพิษออกไปจากปอด อย่างสิ้นเชิง )

             ให้หายใจและนับไปตามลำดับแบบนี้ จนถึง ๓๐ แล้วจึงกลับหายใจตามปกติ ซึ่งอาจจะยาวบ้างสั้นบ้าง แต่ยังคงนับต่อไปตามลำดับ จนถึง ๖๐ จึงเปลี่ยน เป็นหายใจเบา ๆ แต่ลึกและยาว เมื่อทำไปสักครู่ เราจะรู้สึกคล้าย ๆ ไม่มีการหายใจ ทั้ง ๆ ที่หายใจอยู่ นั้นแสดงว่าจิตเริ่มเป็นสมาธิแล้ว ให้นับ ไปเรื่อย ๆ จนถึง ๑๐๐ จึงหยุดนับ รับรู้อยู่เฉพาะลมหายใจเข้าออกเท่านั้น

             พอถึงจุดนี้ จิตจะสงบมากขึ้น ให้ประคองจิตให้สงบอยู่อย่างนั้น จนพอสมควรแก่เวลา จึงหยุด หรือจนกว่าจิตจะถอนออกจากสมาธิเอง จึงหยุด

๑๐ . ในขณะทำสมาธิ มีข้อควรคำนึงอย่างไรบ้าง ?

             มีข้อควรคำนึงดังต่อไป คือ :-

๑๐ . ๑ อย่าบังคับจิตจนเกินไป ทำอย่างสบาย ๆ ถ้าทำไปเรื่อย ๆ และถึง จังหวะเหมาะสม จิตก็จะจากระดับปัญจทวารวิถี ลงสู่ระดับ สมาธิเอง
๑๐ . ๒ อย่าตั้งความหวังหรือความอยากใด ๆ ไว้ เช่น อยากจะต้องให้ใจสงบ จะต้องเห็นนั้นเห็นนี้ เพราะถ้าไม่เป็น ไปตามที่หวัง จะผิดหวัง ตัวความหวังเองก็เป็น อุปสรรคกั้นมิให้ใจสงบ
๑๐ . ๓ ตอนแรก ๆ จิตจะยังรับรู้เสียงที่ดังมาจากภายนอก ถ้าอย่างนั้น ให้บอกตัวเองว่า “ ได้ยิน ๆ ” เท่านั้น อย่าไปคิดว่าเสียงอะไร ถ้าตาเห็นรูปร่างต่าง ๆ เป็นกลุ่ม เป็นก้อน เป็นเส้นเป็นสาย ก็ให้นึกเพียงว่า “ เห็น ๆ ” เท่านั้น อย่าคิดเลยไปถึงว่าเป็นรูปนั้นรูปนี้ ถ้าเกิด มโนภาพอื่น ๆ ขึ้นมาในใจก็ให้นึกเพียงว่า “ คิด ๆ ” เท่านั้น ถ้าเรามีสติกำหนดรู้ทันอยู่อย่างนี้ เสียง รูปและมโนภาพเหล่านั้น ก็จะหายไป จิตใจจะกลับมาจดจ่ออยู่กับการนับลมหายใจต่อไป
๑๐ . ๔ เมื่อรู้ตัวว่าจิตไม่ค่อยสงบ คิดฟุ้งซ่านไปต่าง ๆ อย่าเกิดความผิดหวัง ความขัดเคืองใจ นึกว่าเป็นของธรรมดาของผู้ฝึกใหม่ เมื่อ รู้สึกตัวก็กลับมานับ ลมหายใจต่อไป

๑๑ . สมาธิมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ?

            มี ๓ ขั้นตอน คือ :-

๑๑ . ๑ ขณิกสมาธิ จิตสงบนิ่งอยู่กับลมหายใจชั่วระยะเวลาสั้น ๆ ( ประมาณ ๓๐ วินาที – ๑ นาที )
๑๑ . ๒ อุปจารสมาธิ จิตสงบนิ่งอยู่กับลมหายใจเป็นเวลานานขึ้น ( ประมาณ ๒ - ๕ นาที )
๑๑ . ๓ อัปปนาสมาธิ จิตสงบยิ่งขึ้น จนตะกอนจิตที่ทำให้จิตขุ่นมัวที่เรียกว่า “ นิวรณ์ ๕ ” ดับไป คือ

๑ . กามฉันทะ ความยินดีพอใจในอารมณ์แปลกปลอมที่เกิดขึ้น
เป็นครั้งคราวในมโนทวาร
๒ . พยาบาท ความขัดเคืองใจในอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ
๓ . ถีนมิทธะ ความง่วงซึม สลึมสลือ
๔ . อุทธัจจกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านรำคาญ
๕ . วิจิกิจฉา ความสงสัย ลังเล

            จิตจะมีความพยายามเพียงเล็กน้อยในการรับรู้อารมณ์สมาธิ ( วิตก ) ต่อไปจิต จะแนบแน่นอยู่กับอารมณ์ ไม่เผลอไผลไปที่อื่น ( วิจาร ) จิตจะเกิดความอิ่มเอิบ ดูดดื่มอย่างลึกซึ้ง ( ปีติ ) บางทีก็จะเกิดอาการลิงโลดคล้ายกับตัวจะลอยขึ้น เมื่อเป็น เช่นนั้นอยู่สักครู่ จิตก็จะกลับสู่ความสงบ อย่างลึกซึ้ง ( สุข ) และมีความเป็น หนึ่งในตัวเอง ( เอกัคคตา ) จนรู้สึกว่า ทั้งเนื้อทั้งตัวเรามีแต่จิตเท่านั้น ร่างกายไม่มีเลย

            พอถึงจุดนี้ ก็เท่ากับว่าได้บรรลุถึงเป้าหมายของสมาธิหรือสมถะแล้ว ผู้ชำนาญอาจจะอยู่ในภาวะอย่างนั้นได้เป็นชั่วโมง ๆ หรือเป็นวันเลยทีเดียว ถ้าบำเพ็ญต่อไปเรื่อย ๆ จะเกิดอำนาจจิตพิเศษที่ท่านเรียกว่า อภิญญาขึ้น เช่น หูทิพย์ ตาทิพย์ ระลึกชาติก่อนได้ รู้เหตุการณ์ในอนาคต รู้จิตใจของผู้อื่น เคลื่อนไหว วัตถุด้วยพลังจิตได้ เป็นต้น

Top